ดัชนีความเชื่อมั่นและสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น
(Reliability
Index and Reliability Coefficient)
ดัชนีความเชื่อมั่น
(Reliability
Index)
ในการศึกษาเนื้อหาในส่วนนี้
ต้องมีความเข้าใจในนิยามหรือความหมายของคะแนนจริง คะแนนสังเหตุได้
และค่าความคลาดเคลื่อนตามทฤษฏีการวัดแบบดั้งเดิม ในการสอบแต่ละครั้งนั้นผู้วิจัย
หรือครูผู้สอน จะทราบแค่คะแนนที่สังเกตได้เท่านั้น
ทั้งที่พยายามให้ความสำคัญกับคะแนนจริงหรือคะแนนความคาดหวัง
ทำให้เริ่มมีการศึกษาโดยพยายามศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจริงกับคะแนนที่สังเกตได้
หรือดัชนีความเชื่อมั่น (Reliability
Index)
จะเห็นได้ว่าในพจน์ที่
2
นั้นคือความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจริงกับค่าความคลาดเคลื่อน
ซึ่งในข้อตกลงเบื้องต้น กล่าวว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง
คะแนนจริงกับค่าความคลาดเคลื่อน หรือ ρTE = 0
ดัชนีความเชื่อมั่นตามทฤษฏีการวัดแบบดั้งเดิมนั้น
จากสูตรทำให้ทราบว่า คืออัตราส่วนของส่วนเบี่ยงเบนของคะแนนจริงส่วนด้วยส่วนเบี่ยงเบนของคะแนนสังเกตได้
หรืออาจจะกล่าวได้ว่า
ดัชนีความเชื่อมั่นตามทฤษฏีการวัดแบบดั้งเดิมนั้น คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจริงกับคะแนนสังเกตได้ ในการทำการทดสอบซ้ำ แต่เมื่อใช้จริงครู
หรือนักวิจัยนิยมใช้ข้อสอบที่เป็นลักษระคู่ขนาน
ซึ่งเราสารมารถเชื่อมโยงความรู้ในเรื่องของการหา ρXT หรือ
ความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจริงกับคะแนนสังเกตได้ ไปสู่ ρX1X2
หรือ
ความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสังเกตได้ในการทดสอบแบบคู่ขนาน
โดยทฤษฏีการวัดแบบดั้งเดิมมีข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้ข้อสอบแบบคู่ขนานดังนี้
1.
คะแนนจริงของผู้เข้าสอบต้องเท่ากันในการสอบทั้งสองฉบับ
2.
ความแปรปรวนคลาดเคลื่อนของแบบทดสอบทั้งสองต้องเท่ากัน
สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น
(Reliability
Coefficient)
สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น
เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสังเกตได้จากแบบทดสอบคู่ขนาน และจากข้อตกลง
ทฤษฏีการวัดแบบดั้งเดิมที่กำหนดให้
คะแนนจริงของผู้เข้าสอบต้องเท่ากันในการสอบทั้งสองฉบับ
และความแปรปรวนคลาดเคลื่อนของแบบทดสอบทั้งสองต้องเท่ากัน สามารถประยุกต์เพื่อหาสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น
ได้ดังนี้
x1 = t1 + e1
x2 = t2 + e2
จากข้อตกลงเบื้องต้น
t1
= t2 และ e1 = e2 แปลงเข้าสู่สูตรการหาความสัมพันธ์ได้ดังนี้
จากข้อตกลงเบื้องต้นของทฤษฏีการวัดแบบดั้งเดิม
กำหนดให้ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจริงกับค่าความคลาดเคลื่อนเป็น 0 และความสัมพันธ์ระหว่างค่าความคลาดเคลื่อนในแบบวัดคู่ขนานเป็น 0 จะได้
จากสูตรจะกล่าวได้ว่า
สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น (Reliability Coefficient) คืออัตราส่วนระหว่างความแปรปรวนของคะแนนจริง
ส่วนด้วยความแปรปรวนของคะแนนสังเกตได้ หรือเท่ากับดัชนีความเชื่อมั่นยกกำลังสอง (Square
of the Reliability Index)
ในการรายงานค่า
เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มากที่สุด หรือให้ได้รายละเอียดตรงที่สุด ได้มีการนำเสนอการรายงานผลได้ดังนี้
1. ρX1X2 คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสังเกตได้จากแบบทดสอบคู่ขนาน เป็นค่าที่ได้จะบ่งบอกถึง
สัดส่วนของความแปรปรวนของคะแนนสังเกตได้ที่มีผลต่อความแปรปรวนของคะแนนจริงของผู้เข้าสอบ
2. (ρX1X2)2 คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสังเกตได้จากแบบทดสอบคู่ขนาน หรือ สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นยกกำลังสอง
(Square
of the Coefficient) เป็นค่าที่บ่งบอกถึง สัดส่วนของความแปรปรวนของคะแนนสังเกตได้จากแบบทดสอบ
ที่พยากรณ์คะแนนคะแนนสังเกตจากฉบับหนึ่งสู่อีกฉบับ ในกรณีเป็นแบบทดสอบคู่ขนาน
3. ρTX คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจริงกับคะแนนสังเกตได้
เป็นค่าที่บ่งบอกถึงระดับความสัมพันธ์ของ คะแนนจริงกับคะแนนสังเกตได้
ตัวอย่างเสริมความเข้าใจ
หากในงานวิจัยมีการรายงานค่า
สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น (Reliability Coefficient) เท่ากับ .95
สามารถรายงานและสรุปผลได้ดังนี้
ρX1X2 = .95 หมายความว่า ร้อยละ 95 ของความแปรปรวนของคะแนนสังเกตได้ที่มีผลต่อความแปรปรวนของคะแนนจริงของผู้เข้าสอบ
(.95)2 หรือร้อยละ 90.25 คิดได้จาก (.95)2 x
100 หมายถึง สัดส่วนของความแปรปรวนของคะแนนสังเกตได้จากแบบทดสอบ
ที่พยากรณ์คะแนนคะแนนสังเกตจากฉบับหนึ่งสู่อีกฉบับ พยากรณ์ได้ร้อยละ 90.25
และท้ายสุด
เท่ากับ .97
หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจริงกับคะแนนสังเกตได้เท่ากับ .97
หรือ ρTX = .97 ได้จากการนำ .95 ถอดรากนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น