ปัจจุบันนี้การแข่งขันด้านธุรกิจได้มีแนวโน้มที่มากขึ้น
และปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงแขนงสาขาวิชาทางสถิติก็เป็น การประยุกต์มาจากฝั่งธุรกิจ
เพื่อมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยทางทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
งานวิจัยที่ทำการศึกษาขึ้นส่วนใหญ่จะเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงของพหุระดับ
เพื่อจะตอบปัญหาที่ศึกษาเพื่อให้ดูมีความซับซ้อนของกระบวนการหาคำตอบ
ซึ่งโดยหลักการแล้วการวิเคราะห์ระดับพื้นฐานอาจให้สารสนเทศที่มากกว่า
การวิเคราะห์พหุระดับด้วยซ้ำไป การเขียนบทความครั้งนี้เป็นการเขียนเพื่อทบทวนองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์พหุระดับ
ซึ่งเป็นการเขียนโดยอาศัยความรู้จากหนังสือสถิติทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
เพื่อสื่อให้เห็นเนื้อแท้ของการวิเคราะห์พหุระดับในระดับพื้นฐานอย่างแท้จริง
การวิเคราะห์พหุระดับนั้นเป็นเทคนิคทางสถิติที่ได้นิยมกันมากเพราะถือว่า
เป็นองค์ความรู้ที่นำมาช่วยในกระบวนการหาคำตอบ
หรือนำมาเป็นหลักฐานในการประกอบการตัดสินใจ
โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพหุระดับนั้นจะเป็นการใช้โดยอิงจากวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่มีการจัดกระทำหรือมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน
รวมถึงเป็นการขยายเทคนิคการวิเคราะห์มาจาก การวิเคราะห์ปัจจัยเดียว (Univariate) และการวิเคราะห์เชิงสัมพันธ์ (Bivariate)
จากการแปรปรวนตัวแปรตามเพียงตัวเดียวก็ประยุกต์ใช้เป็นการแปรปรวนเพื่อหาคำตอบในตัวแปรตามสองตัว
หากจะพูดถึงความหมายหรือการแบ่งประเภทว่าสถิติใดเป็น การวิเคราะห์ปัจจัยเดียว (Univariate) การวิเคราะห์เชิงสัมพันธ์ (Bivariate) และการวิเคราะห์พหุระดับ
(Multivariate) เป็นเรื่องที่ยาก
เพราะเกณฑ์ในการใช้จำแนกนั้นมีอยู่หลายเกณฑ์แต่ เกณฑ์ที่นิยมแยกคือกระจัดกระทำกับตัวแปร
ซึ่งถือว่าเป็นการแบ่งเกณฑ์ที่หยาบที่สุดแต่ก็ไม่ได้ผิดหลักการณ์แต่อย่างไร โดยหลักของการวิเคราะห์พหุระดับนั้นข้อมูลจากชุดข้อมูลที่มีการแจงแจงแบบโค้งปกติ
โดยตัวแปรตามจะมีหนึ่งตัวหรือสองตัวขึ้นไปก็ได้ แต่ความแปรปรวนในตัวแปรตามนั้นจะต้องเป็นปัจจัยร่วมกระทำ
(Combinations of variables) ในการอธิบาย พยากรณ์
หรือระดับความสัมพันธ์ มากกว่าที่จะสนใจจำนวนตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สรุปการวิเคราะห์พหุระดับนั้น เป็นการวิเคราะห์ที่มีความซับซ้อน เป็นการประยุกต์เทคนิคทางสถิติเพื่อให้หาความตอบในเชิงการจัดกระทำ
โดยการวิเคราะห์หรือการหาคำตอบนั้น เป็นการหาโดยผ่านความแปรปรวนในตัวแปรตามที่เป็นปัจจัยร่วมกระทำ
(Combinations of
variables)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น