ถึงแม้ว่าการวิเคราะห์พหุระดับนั้นรากฐานแนวคิดจากมากจากการวิเคราะห์แบบ
การวิเคราะห์ปัจจัยเดี่ยว (Univariate)
และการวิเคราะห์เชิงสัมพันธ์ (Bivariate)
แต่ในการทำความเข้าใจเบื่องต้นนั้นต้องมีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบความสัมพันธ์
ความเกี่ยวโยงกันของความแปรปรวน
ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเฉพาะเจาะจงแต่มีแนวความคิดที่คล้ายคลึงกัน
โดยผู้ทีทำการศึกษาต้องมีความรู้ทั้งในเรื่องของระดับการวัด มาตรการวัด ระดับความเชื่อมั่นหรือระดับนัยสำคัญทางสถิติ
ซึ่งแต่ละอย่างล้วนเป็นพื้นฐานที่ประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์พหุระดับ
ความแปรปรวน (The Variate)
เป็นการกระทำภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
และมีส่วนกระทำร่วมจากหลายสิ่งเร้า หรือหลายตัวแปรอิสระ
เพื่อร่วมกันแปรปรวนในตัวแปรตาม โดยจะมีการให้ความสำคัญของค่าน้ำหนัก (Weights) ที่แฝงอยู่รวมกับตัวแปรที่ทำการศึกษา ดังสมการต่อไปนี้
ค่าความแปรปรวน = w1X1
+ w2X2 + w3X3 +…….. + wnXn
โดยกำหนดให้
w1
ถึง wn คือ
ความน้ำหนักที่ใช้อธิบายตัวแปรนั้น ๆ ที่ร่วมแปรปรวน และ
X1 ถึง
Xn คือ ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ผลลัพธ์ที่ได้จากการร่วมกันพยากรณ์ หรือร่วมกันแปรปรวนนั้นจะมีค่าเพียงค่าเดียว และค่าน้ำหนักที่กระทำต่อตัวแปรที่ใช้ในการศึกษารายตัวแปรนั้น โดยส่วนมากจะเรียงลำดับตามความสำคัญ โดย การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) จะให้ความสำคัญของค่าน้ำหนัก (w) ในเรื่องของความสัมพันธ์ ของตัวแปรที่ทำการศึกษากับตัวแปรตาม การวิเคราะห์การจำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) จะให้ความสำคัญของค่าน้ำหนัก (w) ในเรื่องของคะแนนที่สามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และในการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) จะให้ความสำคัญของค่าน้ำหนัก (w) ในเรื่องของการพยากรณ์ภายใต้โครงสร้างที่มีความสัมพันธ์กัน
จากที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความแปรปรวนนั้น
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นถึงความเชื่อมโยงของค่าน้ำหนักคะแนนที่ได้ แต่เมื่ออยู่ภายใต้ข้อจำกัดของการใช้สถิติต่างกันแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดในเรื่องของมาตรการวัด หรือข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย
ชื่อเรียกหรือของค่าน้ำหนักจะต่างกัน แต่มีแนวคิดพื้นฐานของกระบวนการ
หาคำตอบจะมีแนวคิดที่คล้ายกัน คือเป็นหลักปัจจัยร่วมกระทำ (Combinations
of variables)
มาตรการวัด (Measurement
Scale)
มาตรการวัดของตัวแปรนั้น
ได้มีหนังสือหลายเล่มที่กล่าวถึงไม่โดยการเรียงจากความหยาบไปหาละเอียดสุดในสารสนเทศคือ
นามบัญญัติ (Nominal
Scale) เรียงอันดับ (Ordinal Scale)
อัตภาคชั้น (Interval Scale) และมาตราส่วน (Ratio
Scale)
แต่หากแบ่งมาตรการวัดของตัวแปรโดยใช้คุณลักษณะเป็นเกณฑ์จะแบ่งได้ 2 ประเภทคือ กลุ่มตัวแปรเชิงคุณภาพจะประกอบด้วย นามบัญญัติ (Nominal
Scale) เรียงอันดับ (Ordinal Scale)
และกลุ่มตัวแปรเชิงปริมาณ จะประกอบด้วย อัตภาคชั้น (Interval Scale) และมาตราส่วน (Ratio Scale)
มาตรการวัดนี้ไม่ใช่มีไว้เพือแบ่งหรือจำแนกประเภทของตัวแปรเท่านั้น
แต่จะเป็นการบ่งบอกถึงการเลือกใช้สถิติในการแก้ปัญญาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับชุดข้อมูล
รวมไปถึงการรายงานผลการวิจัยจะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยการเลือกใช้หรือการให้ความสำคัญของมาตรการวัด
มีความสำคัญดังนี้
1. เป็นการกระตุ้นให้นักวิจัยเข้าใจธรรมชาติของตัวแปร
และเข้าใจความหมายและธรรมชาติของข้อมูลที่ทำการเก็บรวบรวมมาได้ เช่น เพศ
จะพบกันบ่อยที่กำหนด ให้ เพศชาย เป็น 1 และ เพศหญิงเป็น 2
เมื่อพิจารณาจะพบว่า เพศเป็นตัวแปรในมาตรวัด นามบัญญัติ (Nominal
Scale) หากมีการรายงานเป็นค่าเฉลี่ย (Mean)
จะทำให้ค่าที่ได้นั้นไม่มีความหมาย
เพราะธรรมชาติบ่งชี้ให้เห็นถึงแค่เพศชายหรือหญิง
ส่วนการกำหนดตัวเลขนั้นเป็นการแปรข้อมูลในมาตรการวัดเชิงคุณภาพให้เป็นเชิงประมาณ (Dummy
Variable) ซึ่งจะกล่าวในครั้งต่อ ๆ ไป
2. เป็นการใช้เพื่อตระหนักถึงเทคนิคที่จะใช้วิเคราะห์ข้อมูล
ที่ทำการเก็บรวมรวมมา ว่าจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอะไร
เพื่อความเหมาะสมและความถูกต้องตรงตามคุณลักษณะของตัวแปรที่ทำการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น