ในปัจจุบันการทดสอบเพื่อหาคะแนน
หรือวัดความสามารถจะเป็นการมีการทดสอบย่อย เช่น การทดสอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สิ่งมีชีวิติ ก็จะมีการทำการเก็บคะแนนจากการทดสอบย่อยๆ หรือ
จากการปฏิบัติงานอื่นตามข้อตกลง แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการเก็บคะแนน
จากการทดสอบย่อย (Subtest or Mini-test)
เพื่อเป็นคะแนนรวมของหน่วยการเรียนที่ 1 ซึ่งการทดสอบย่อยจะมีสองครั้งหรือมากกว่า
ก็ตามเนื้อหาที่ต้องการเก็บคะแนน ในการเก็บคะแนนในรูปแบบของ Test Scores As
Compossites ผู้ออกข้อสอบต้องรู้ว่ามีอิทธิพลของข้อคำถามที่จะส่งผลต่อคะแนนรวม
เช่นความยาวของข้อคำถาม ค่าความยาก เป็นต้น
โดยในครั้งจะอธิบายความคำคัญของข้อคำถามรายข้อเพื่อเชื่อมโยงไปสู่คะแนนรวมของแบบทดสอบ
(Test)
ในการกำหนดค่าของคะแนนนั้น
จะเป็นการกำหนดค่าให้กับคำตอบ โดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ 2 ลักษณะ
คือ 1) ลักษณะสองคำตอบ (Dichotomous)
คือจะกำหนดให้คำตอบที่เป็นตัวล่วงมีค่าเท่ากับ 0 ส่วนข้อที่ถูกจะให้มีค่าเท่ากับ
1 และ 2) ลักษณะไม่เป็นสองคำตอบ (Nondichotomous) เช่น แบบมาตราส่วนประมาณค่า การเขียนตอบสั้นๆ
การเขียนคำตอบแบบเรียงลำดับเหตุการณ์ เป็นต้น
สถิติที่ใช้บรรยายตัวแปรที่ไม่เป็นสองคำตอบ
(Nondichotomous)
ในตัวแปร หรือคำตอบที่มีการตอบไม่ใช้ลักษณะ 2 คำตอบ จะมีการใช้สถิติเพื่อบรรยาย เช่น ค่าเฉลีย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ความแปรปรวน (SD2) พิจารณาจากตารางดังนี้
จากตารางข้างต้น มีผู้เข้าสอบทั้งหมด 10 คน
แต่ละคนทำข้อสอบ คนละ 5 ข้อ ถ้าแสดงในลักษณะของเมทริกซ์จะมีการกำหนด
แถว (Row) และ สดมภ์ (Column)
คะแนนรวมเป็นการรวมคะแนนแต่ละคนคิดเป็นแถว มีทั้งหมด 10 แถว
(จำนวนคน) และมีทั้งหมด 5 สดมภ์ (ข้อสอบมี 5 ข้อ) ค่าเฉลี่ยแต่ละข้อ
หาได้จากผลรวมของทุกคน จากข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 1 มีสมการหาค่าเฉลี่ยในสมการทั่วไป
และเมื่อหาการกระจายของชุดข้อมูลต้องมีการหาความแปรปรวน
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก็หาได้จากรากที่สองของความแปรปรวน โดยความแปรปรวนมีสูตรในการหาดังนี้
สถิติที่ใช้บรรยายตัวแปรที่เป็นสองคำตอบ (Dichotomous)
ลักษณะของสองคำตอบในที่นี้จะเป็นการจำแนกออกเป็น
หากตอบถูกจะกำหนดให้เป็น 1 ส่วนตอบผิดจะกำหนดให้เป็น 0 มีลักษณะคล้ายกับค่าความยาก (p)
ในการหาคุณภาพของเครื่องมือเป็นรายข้อ โดยค่า p นั้นจะเป็นการแสดงอัตราส่วนของคนที่ตอบถูกส่วนตัวจำนวนคนทั้งหมด
โดยต้องมีความเข้าใจหากมีการรายงานค่า p = 85 % หมายถึง
มีผู้ตอบถูกคิดเป็นอัตราส่วนได้ .85 และผู้ตอบผิดคิดเป็นอัตราส่วนได้ .15 มีค่าเท่ากับการหาค่าเฉลี่ยด้วยวิธีการข้างต้น
จากตารางข้างต้น
ทำให้ทราบว่าค่าเฉลี่ย จะเท่ากับ ค่าความยาก (p)
และความแปรปรวนจะเท่ากับ pq โดย q = 1-p ในกรณีที่คำตอบเป็นลักษณะสองคำตอบ
Dichotomous นั้นในการปรับปรุงเครืองมือเพื่อให้มีคุณภาพหลักปฏิบัติ
ดังนี้
1. ไม่ควรเพิ่มข้อคำถามโดยไม่จำเป็น
เพราะการเพิ่มข้อคำถามนั้นจะทำให้ ความแปรปรวนเพิ่ม
ส่งผลให้มีความคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
2. หากจำเป็นต้องเพิ่มข้อคำถามให้เพิ่ม
ข้อที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันมากที่สุด หรือข้อที่มีสัดส่วนค่าความยาก (p) ใกล้เคียงกัน จะทำให้มีความสัมพันธ์กันสูง
และการเพิ่มขอบเขตของค่าความยาก จะทำให้มีความเชื่อมั่นมากขึ้น
เพราะหากใช้เพียงค่าความยาก (p) ระดับปานกลาง .4 - .6
จะทำให้เกิดความแปรปรวนที่สูง ส่งผลให้ความคลาดเคลื่อนสูงตามไปด้วย
3. ความแปรปรวนสามารถบอกคุณภาพของแบบทดสอบได้
หากมีการเปรียบเทียบเพื่อวัดในสถานการณ์หรือ สิ่งที่คล้ายกัน
โดยด้วยแปรปรวนมากจะบ่งบอกถึงความคลาดเคลื่อนมากด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น