ในการวิเคราะห์ระดับพหุนั้น ผู้ศึกษาต้องมีความเข้าใจในเรื่องของความแปรปรวน รวมไปถึงหลักการรวมของความแปรปรวน และการวัดในแต่ละครั้งจะเกิดความคลาดเคลื่อน (Measurement Error) ซึ่งความคลาดเคลื่อนของการวัดนี้จะเกิดมาได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสูญหายของข้อมูล กระบวนการลงรหัสของข้อมูลผิด เป็นต้น โดยนักวิจัยพยายามที่จะควบคุมเพื่อให้มีความคลาดเคลื่อนของผลในการวัดให้น้อยที่สุด เพราะจะทำให้งานวิจัยดูมีความน่าเชื่อถือ จึงได้พยายามศึกษาและใช้วิธีการที่จะลดค่าความคลาดเคลื่อนดังนี้
ความตรงและความเที่ยง
(Validity
and Reliability)
ความตรง
(Validity) หมายถึง ซึ่งจะมีอยู่หลายแขนง แต่จะขออธิบายในภาพรวมคือ
ความตรงจะเป็นการวัดได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย เช่นจะวัดหรือสอบถามเรื่องเงินเดือนของข้าราชการครู
ก็ต้องสร้างเครื่องมือและไปเก็บข้อมูลกับข้าราชการครู
ความเที่ยง (Reliability) หมายถึง ความคงเส้นคงวาของการวัด
เป็นการบ่งบอกถึงคุณภาพของตัวแปรที่ใช้ในการสังเกต โดยจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับการวัดความคลาดเคลื่อน
(Measurement Error)
สรุปคือ
ความตรงเป็นการตรงสอบก่อนว่าเราต้องการศึกษาอะไร และเครื่องมือหรือตัวแปรที่ใช้วัด
ตอบโจทย์งานวิจัยได้หรือไม่
ส่วนความเที่ยงนั้นเป็นการยืนยันว่าตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยมีคุณภาพเพียงพอ หากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความตรง ความเที่ยงจะเป็นผลตามมา
แต่หากงานวิจัยมีความเที่ยง ก็อาจจะไม่มีความตรง
ผลกระทบของความคลาดเคลื่อนในการวัด
(Impact
of Measurement Error)
ผลกระทบของความคลาดเลื่อนหรือการที่งานวิจัยมีความเที่ยงที่ต่ำนั้น
จะสังเกตได้ยากหรือผู้วิจัยต้องตระหนักเสมอว่าในการทำการวิจัยแต่ละครั้ง
งานวิจัยจะต้องมีทั้งความตรงและความเที่ยง
โดยต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นความตรงทั้งภายในและภายนอก
หากมีความตรงแล้วความเที่ยงก็จะเกิดขึ้น และส่งผลให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น