ในการจัดการสอนนั้น
ครูผู้สอนมักต้องการให้ข้อสอบของตนมีคุณภาพ
เพื่อเป็นการประกันว่าข้อสอบนั้นสามารถวัดได้ตรง และวัดได้คล้ายกับครั้งที่ผ่าน ๆ
มา โดยต้องมีข้อกำหนดที่ว่า ต้องใช้กับบริบทที่คล้ายคลึงกัน
หรือภายใต้สถานการณ์ที่เหมือนกัน
โดยจะเป็นการวัดความตรงภายในหรือความสามารถในกระทำซ้ำที่รู้กันในนาม ความเชื่อมั่น
(Reliability) ในการเขียนครั้งนี้ผู้เขียน แปลความหมายของ Reliability ว่าความเชื่อมั่น หรือในหนังสือบางเล่มก็อาจใช้คำว่า ความเที่ยง การแปลความหมายของคำว่า
Reliability เป็นความเชื่อมั่น หรือความตรง นั้น
เป็นประเด็นพอควร แต่หากเราก้าวข้ามจุดที่ถือว่าเป็น Ego ส่วนดังกล่าวออกไป
แล้วมาทำความรู้จักกับรากที่มา ส่วนนี้จะได้ประโยชน์กว่าการต้องมาขัดแย้งกันในเรื่องของความหมาย
ในทางปฏิบัตินั้นความเชื่อมั่นจะเป็นตัวเลข
บ่งบอกถึงการกระจายตัวของคะแนนในแต่ละบุคคล เชื่อมโยงไปถึงสหสัมพันธ์อย่างง่าย (ρxy) และคะแนนมาตรฐาน (Z-Score)
โดยเป็นการอ้างอิงความตรงภายในที่เกิดจากการกระทำซ้ำ ๆ (Repeated) ของแบบทดสอบชุดเดียวกันหรือการสอบโดยใช้แบบทดสอบหลายชุด (Same or
Alternate Test Forms) แต่ในการวัดตัวแปรทางจิตวิทยาเป็นเรื่องที่วัดได้ยาก
ทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่ต่ำ หรือเกิดความตรงภายในต่ำนั้นเอง
ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของครูที่จะต้องบริหารจัดการห้องสอบให้ดี หากจัดการไม่ดีจะส่งผลให้เกิดเชื่อมั่นที่ต่ำ
อันส่งผลมาจาก นักเรียนจำข้อสอบได้ การลอก เป็นต้น
คะแนนจริงตามการวัดแบบดั้งเดิม
(The
Classical True Score)
คะแนนจริงเป็นประเด็นที่สนใจกันมากเมื่อ
นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ Charles
Spearman ได้นำเสนอแนวคิดดังกล่าวจากการหาสหสัมพันธ์อย่างง่ายของตัวแปร
และได้มีนักวิชาการอีกหลายท่านได้ให้ความสนใจที่จะอธิบายเรื่องดังกล่าว
โดยยึดแนวคิดของ Charles Spearman ที่กล่าวว่า
คะแนนจริงประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นคะแนนที่แท้จริง (T)
และค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่ม (E) เขียนได้ดังสมการ
X = T+E
เมื่อ X คือ คะแนนจาการสังเกต
T คือ
คะแนนจริงที่เกิดขึ้นแท้จริงในแต่ละตัวบุคคล
E คือ
ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่ม (จะเป็นผลที่เกิดกับปัจเจก ไม่ส่งผลทั้งระบบ เช่น ผู้เเข้าสอบป่วย การเดาคำตอบ)
ตัวอย่าง
กรณีที่ที่มีข้อสอบ 10
ข้อ ญาญ่า สามารถทำข้อสอบได้เอง 7 ข้อ แต่
เลือกคำตอบผิด 2 ข้อ คะแนนที่สังเกตได้ จึงเท่ากับ 5 โดยคิดจาก
X = T + E
5 = 7 – 2
กรณีเดียวกันแต่ ใบเตย
มีความสามารถในการทำข้อสอบได้เอง 4 ข้อ และเดาข้อสอบได้อีก 3
ข้อ คะแนนที่สังเกตได้ จึงเท่ากับ 7 โดยคิดจาก
X = T + E
7 = 4 + 3
จากกรณีตัวอย่างข้างต้น ค่าความคลาดเคลื่อนนั้นมีทั้งทางบวกและทางลบ
จะใช้เป็นการอ้างไปสู่คะแนนจริงของผู้เข้าสอบไม่ได้
เพราะตามทฤษฏีการวัดแบบดั้งเดิมนั้น
คะแนนจริงของผู้เข้าสอบคือคะแนนที่เป็นตัวเลขบอกว่าผู้เข้าสอบสามารถตอบคำถามได้เท่าไร
ความหมายของคะแนนจริง
(Definition
of The True Score)
คะแนนจริง คือ
คะแนนที่คาดหวังว่าจะเกิด โดยเกิดจากการวัดซ้ำ เชื่อมโยงไปหาการหาค่าเฉลี่ย
หรือในบางที คะแนนจริงอาจถูกเรียกว่า ค่าเฉลียของตัวแปรที่มาจากการสุ่ม เมื่อตัวแปรที่ได้จากการสุ่ม
กำหนดให้เป็น X
และมีข้อตกลงว่าต้องมีค่าที่อยู่ภายใต้เงื่อนจำกัด
ของข้อสอบที่เป็นคู่ขนาน หรือการวัดซ้ำ กำหนดเป็นสูตรได้ดังนี้
กำหนดให้ µ = ค่าเฉลี่ย หรือ ค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่มาจากการสุ่ม
X = ค่าของตัวแปรที่มาจากการสุ่ม
P = ค่าความน่าจะเป็นของตัวแปรที่มาจากการสุ่มในข้อนั้น
ๆ
หากเป็นกรณีที่ยุติธรรม
ในการหาค่าความคลาดหวัง หรือ ค่าเฉลี่ย หรือ ค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่มาจากการสุ่ม
จากกรณีตัวอย่าง ที่มีตัวแปรจากการสุ่ม 6 ตัว จะมีค่าดังนี้
= 1(1/6) +
2(1/6) + 3(1/6) + 4(1/6) + 5(1/6) + 6(1/6)
= 3.5
หากตัวแปรที่ได้จาการสุ่มมีการไม่กำหนดค่า (Infinite) จะไม่สามารถใช้สูตรในการหาคะแนนจริงตามข้างต้นได้
เมื่อกำหนดให้เป็น
X
และมีข้อตกลงว่าต้องมีค่าที่อยู่ภายใต้เงื่อนจำกัด
อาจกำหนดได้ดังสัญลักษณ์ คือ €X = µ = T
ในการให้นิยามเกี่ยวกับคะแนนจริงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
เพราะต่างบริบทไปก็จะต่างกัน
เช่นในการวัดทางด้านจิตวิทยาจะกล่าวถึงในเชิงของค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่ได้จากการสุ่ม
แต่ในทางวิทยาศาสตร์หรือด้านการแพทย์นั้นจะรายงานเป็นตัวแปรหรือตัวเลขที่เกิดโดยแท้จริง
จะไม่มีการรายงานแบบค่าเฉลี่ย เช่น รายงานว่า เวลา 6 นาฬิกา
ผู้ป่วยมีอุณหภูมิ 32.4 องศา เวลา 18 นาฬิกา ผู้ป่วยมีอุณหภมิ 32.5 องศา
และจะไม่มีการหาค่าเฉลี่ย ของอุณหภูมิประจำวัน
ความหมายของค่าความคลาดเคลื่อน
(Definition
of Error)
ในการวัดตามทฤษฏีแบบดั้งเดิมนั้น
ความคลาดเคลื่อนในการวัด หมายถึง
ความแตกต่างระหว่างค่าคะแนนจริงและค่าที่สังเกตได้ เมื่อ j คือ
ผู้เข้าสอบ
Xj =
Tj + Ej
Ej =
Xj - Tj
µEj = €Ej
=
€ (Xj - Tj)
€Ej = €Xj - €Tj เมื่อ €Xj =
€Tj = Tj จาก คะแนนคาดหวัง
จะได้ €Ej =
€Tj - €Tj = 0
€Ej = Tj - Tj = 0
จากสูตรการหาคะแนนความคลาดหวัง
แปลงหาคะแนนความคลาดเคลื่อน
และการหาค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนทำให้ทราบได้ว่ามีค่าเฉลี่ยเป็น 0 โดยเป็นค่าที่ได้จากการทดสอบซ้ำคล้ายกับการหาคะแนนความคลาดหวัง
คุณสมบัติของคะแนนจริง
และคะแนนความคลาดเคลื่อน (Properties of
True and Error Score)
จากการกำหนดนิยามข้างต้น
ในเรื่องของคะแนนจริงและคะแนนความคลาดเคลื่อนนั้น
ตามหลักการวัดตามทฤษฏีแบบดั้งเดิม ซึ่งสามารถแปลงสูตรได้หลากหลาย
และกำหนดให้เป็นข้อตกลงเบื้องต้นของคุณสมบัติของคะแนนจริง และคะแนนความคลาดเคลื่อน
ได้ดังนี้
1. ค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนของคะแนนที่ได้จากประชากรจะมีค่าเป็น
0 (µE = 0)
2. ไม่ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจริงและความคลาดเคลื่อนในกลุ่มประชากร
หรือ ค่าความสัมพันธ์เป็น 0 (ρTE = 0)
3. เมื่อผู้เข้าสอบ
สอบด้วยแบบทดสอบที่เป็นคู่ขนาน จะไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง
ความคลาดเคลื่อนทั้งสองฉบับ หรือ ค่าความสัมพันธ์เป็น 0 (ρE1
E2 =
0)
โดยในข้อตกลงเบื้องต้นทั้ง 3 ข้อนี้เป็นการอธิบายตามหลักทฤษฏีการวัดแบบดั้งเดิม
สามารถใช้หลักการดังกล่าวประยุกต์เข้ากับการหาค่าความเชื่อมั่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น