วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แนวคิดเกี่ยวกับสถิติสำหรับทฤษฏีการวัด



แนวคิดเกี่ยวกับสถิติสำหรับทฤษฏีการวัด
           โดยทั่วไปแล้วงานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ และด้านพฤติกรรมศาสตร์จะมีวัตถุประสงค์ในการใช้สถิติอยู่ 2 วัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อใช้ในการบรรยาย (Descriptive) และ 2) เพื่อสรุปอ้างอิง (Generalizations) โดยทั้งสองส่วนนี้มีส่วนคล้ายกันคือ จะมีการสรุปจากข้อมูลภายใต้เงื่อนไขหรือสถานการณ์นั้น ๆ ใช้เพื่อการบรรยายจะเป็นการสรุปคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งที่นักวิจัยต้องการศึกษา  ส่วนการสรุปอ้างอิงนั้นจะเป็นการสรุปทิศทางหรือรูปทรงของการกระจายตัวของชุดข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการสุ่มโดยอาศัยความน่าจะเป็นเพื่ออ้างอิงหรือสรุปผลเทียบเคียงไปยังกลุ่มประชากร  ลักษณะของการจัยจะต้องมีความตรง (Vaildity) ทั้งภายในและภายนอก (Internal and External Vaildity) ซึ่งในปัจจุบันจะพบว่างานวิจัยจะมีลักษณะความตรงได้ดังนี้ ความตรงภายในและภายนอกสูง, ความตรงภายในและความตรงภายนอกต่ำ ,ความตรงภายในสูงแต่ความตรงภายนอกต่ำ ,และความตรงภายในต่ำและความตรงภายนอกสูง  เพื่อขยายความเข้าใจเกี่ยวกับความตรงภายในและความตรงภายนอก  จึงได้สรุปความหมายของสถานการณ์ทั้ง 4 ดังนี้
             1. งานวิจัยที่มีลักษณะความตรงภายในและภายนอกสูง  แยกพิจารณาได้ดังนี้ ความตรงภายในสูง หมายถึงผลของการวิจัย ที่เป็นผลจากตัวกระทำจริงโดยไม่มีสิ่งเจือป่นจนขาดความน่าเชื่อถือ หมายความว่าผลของตัวแปรตามที่เป็นผลจากตัวแปรอิสระ ผ่านกระบวนการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนและตัวแปรสอดแทรก  ส่วนความตรงภายนอกสูง หมายถึง ผลการวิจัยที่มีลักษณะอ้างอิงไปยังสถานการณ์อื่นภายใต้เงื่อนไขที่คล้ายคลึงกัน หากทำได้แล้วจะทำให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ
             2. งานวิจัยที่มีลักษณะความตรงภายในและภายนอกต่ำ แยกพิจารณาได้ดังนี้ ความตรงภายในต่ำ หมายถึงผลของการวิจัย ที่เป็นผลจากตัวกระทำจริงโดยมีสิ่งเจือป่นจนขาดความน่าเชื่อถือ มีหมายความตรงกันข้ามกับความตรงภายในสูง  ส่วนความตรงภายนอกต่ำ หมายถึง ผลการวิจัยที่มีลักษณะเทียบเคียงผลการวิจัยไปได้ต่ำ อาจเป็นผลมาการความตรงภายในที่ต่ำทำให้ผลการวิจัยไม่สามารถสรุปไปยังกลุ่มประชากรอื่นได้
             3) งานวิจัยที่มีลักษณะความตรงภายในสูงแต่ความตรงภายนอกต่ำ หมายถึง งานวิจัยที่มีกระบวนการทดลองที่ออกแบบการควบคุมตามความหมายในข้อ 1. แต่เมื่อนำผลวิจัยที่ได้ไปเทียบเคียงหรืออ้างอิงกลับแล้ว กลับพบว่า มีความตรงภายนอกที่ต่ำ หรือมีผลการวิจัยที่เทียบไปยังสถาณการณ์เดี่ยวกันได้ต่ำ งานวิจัยประเภทนี้ในปัจจุบันมีมากในลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการณ์ เพราะเป็นงานวิจัยที่เน้นแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม
             4) งานวิจัยที่มีลักษณะความตรงภายในต่ำแต่ความตรงภายนอกสูง งานวิจัยในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้เช่นเดี่ยวกัน เพราะผลที่เกิดจากกับตัวแปรตามมีการเจือป่นจนเกิดความไม่น่าเชื่อถือ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่น ๆ กับพบว่า สามารถเทียบเคียงผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน หากนักวิจัยมีความรู้ในระเบียบวิธีวิจัยแล้ว จะไม่นิยมศึกษาต่อในการเทียบเคียงเพราะความตรงภายในต่ำบ่งชี้ถึงกระบวนการต่าง ๆ ของการค้นคำตอบไม่ดีเท่าที่ควรทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ สูตรยาผีบอก

      นโยบายเปลี่ยน การปฏิบัติก็เปลี่ยน การทำวิจัยในครูก็ยิ่งลดลง เนื่องด้วยการประเมินวิทยฐานะแบบใหม่หรือเรียกกันติดปากว่า ว.21 วันนี้จะมาพ...