การพยากรณ์ตัวแปรเป็นการใช้ความรู้หรือสารสนเทศที่มีอยู่
เพื่อทำนายหรือพยากรณ์จากเส้นที่มีระบบขึ้นลง
อย่างเป็นระบบ หรือ regression
line เพื่อให้สอดคล้องกับ สมการเส้นตรงและ Scatterplots ที่อิงการใช้คะแนน Z- SCORE กล่าวโดยรวมคือ
การที่จะพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้นั้นตัวแปรดังกล่าวต้องเกี่ยวพันธ์กับข้อมูลที่มี
โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ประกอบการตัดสินใจ นั้นคือเส้น regression line ซึ่งเป็นการพัฒนาจาก Scatterplots
นั้นเอง
เส้นการขึ้นลงอย่างเป็นระบบ
(THE
REGESSION LINE)
เส้นการขึ้นลงอย่างเป็นระบบนั้น
มีชื่อเรียกที่ต่างกันออกไป
แต่ในครั้งนี้ผู้เขียนได้เรียกชื่อเส้นดังกล่าวตามลักษณะ โดยมีระบบที่แฝงอยู่ภายในทำให้เส้นดังกล่าวมีค่า
หลังการแทนค่าที่ต่างออกไปตามชุดข้อมูลที่มีอยู่
โดยทั่วไปแล้วจะกล่าวถึงสมการเส้นตรงคือ
Y` = bx + c
โดย b คือ ค่าความชันในสมหาร โดยค่าความชันนี้เป็นตัวเลข หรือค่าที่บ่งบอกถึง
การเพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อกำหนดให้ตัวแปรอื่นคนที่ ในตัวแปรตาม 1 หน่วย ตัวอย่างเช่น มีสมการคือ Y` = 1.78x + c จะอธิบายได้ว่า ค่าความชันของสมการมีค่า 1.78
เมื่อกำหนดให้ตัวแปรอื่นคงที จะแปรปรวนเพิ่ม (สังเกตเครื่องหมาย
บวกคือเพิ่ม ลบคือลด) ในตัวแปรตามจำนวนตัวเลขที่ระบุ
จากภาพข้างต้น ต้องแยกแยะค่าให้ได้ว่า ค่า Z คือค่าที่เกิดขึ้นแทนจริง
ส่วนค่า Z`นั้นเป็นค่าที่เกิดจากระบบที่ขึ้นลงจากชุดข้อมูลที่ทำการศึกษา
Z- Z` คือ ค่าความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ จากภาพคะแนนของ Carl
หากใช้จากคะแนนจริง Zy มีคะแนน 1.83
หากใช้เส้น regression line
ในการพยากรณ์จะมีความคลาดเคลื่อน 1.83-.93 = .90
สรุปคือ การทำ Scatterplots
นั้นเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร และเป็นการกระทำโดยมีชุดข้อมูลจริง แต่ regression
line นั้นเป็นการต่อยอดของ Scatterplots
เพื่อพยากรณ์หรือทำนายตัวแปรที่สนใจ จากชุดข้อมูลที่มีอยู่ โดยการกำหนดเส้น regression
line เป็นการกำหนดจากผลรวมของค่าที่แท้จริงลบด้วยค่าพยากรณ์ทุกจุด
ยกกำลังสอง เพื่อให้เส้นมี ความคลาดเคลื่อนที่น้อยที่สุด (least squares criterion) และนักสถิติได้พัฒนาเพื่อให้การพยากรณ์จากจุดบนชุดข้อมูลให้มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดจึงทำการประยุกต์ความชันในสมการ
ได้เป็นสมการดังนี้
จะเห็นได้ว่า
ฝั่งขวาของสมการจะเป็นค่าเดียวกันกับการหาสหสัมพันธ์ของเพียร์สันจากประชากร และกำหนดให้จุดตัดแกน Y หรือค่า c
เท่ากับ 0 แล้ว สามารถแปลงสูตรได้ดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น