วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

มันคืออำนาจจำแนกของแบบสอบถามจริงหรือ


            คำถามว่าทำไม เป็นคำถามที่ดีสำหรับคนที่ต้องการค้นหาคำตอบ เพราะคำว่าทำไมทำให้เกิดการหาคำตอบของคำว่าทำไม และแล้ววันหนึ่งคำว่าทำไมของผมก็เขามาเกี่ยวกับกับการหาอำนาจจำแนกของแบบสอบถามในโปรแกรม SPSS ซึ่งดูแล้วมันขัดแย้งกันในเชิงนิยาม
            เราต้องมาดูความหมายของอำนาจจำแนก หมายถึง ความสามารถของข้อคำถามที่สามารถจำแนกออกได้ตามสิ่งที่เราต้องการ เช่น แบบสอบถามเจตคติเกี่ยวกับการเรียน อำนาจจำแนกในกรณีนี้จะหมายถึง ข้อคำถามที่สามารถจำแนกคนออกเป็น 2 กลุ่มคือ คนที่มีเจตคติเกี่ยวกับการเรียน และคนที่ไม่มีเจตคติเกี่ยวกับการเรียน จากได้ศึกษาวิธีการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ ในครั้งนี้เจาะจงแค่แบบสอบถามที่ให้ตอบเป็นแบบ Rating scale โดยจะเริ่มจากการนิยามศัพท์เฉพาะ สร้างข้อคำถามให้ครอบคลุมกับนิยามศัพท์ จากนั้นผ่านกระบวนการหาคุณภาพเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ หาอำนาจจำแนกรายข้อ รวมถึงหาคุณภาพทั้งฉบับ ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาวิธีการหาคุณภาพเครื่องมือของต่างประเทศผ่านการใช้โปรแกรม SPSS จึงได้พบกับความจริงบางอย่างที่ในไทยยังเข้าใจคลาดเคลื่อน




         ในเมืองไทยจะพบว่าการหาอำนาจจำแนกผ่านโปรแกรม SPSS จะดูค่าที่ช่อง Corrected Item-Total Correlation แล้วกำหนดค่า 0.2 ถึง 1.00 เป็นค่าที่บ่งชี้ว่าข้อดังกล่าวที่มีอำนาจจำแนก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอย่างมากเพราะช่อง Corrected Item-Total Correlation ถือได้ว่าเป็น Correlation จากการคำนวณ จำเป็นอย่างยิ่งต้องเปิดตารางเพื่อหาค่าวิกฤตไว้เปรียบเทียบ ซึ่งค่าไหนที่มากกว่าค่าวิกฤตถือว่าเป็นข้อที่มีอำนาจจำแนก แต่ก็มีนักวิจัยส่วนใหญ่ที่ยังถ่ายทอดและทำผิดโดยยึดเกณฑ์ 0.2 ถึง 1.00 (เป็นเกณฑ์ของระบบคำตอบที่เป็น Dichotomous ตอบผิดกำหนดให้เป็น 0 ตอบถูกกำหนดให้เป็น 1) 
         จากความเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องของการใช้เกณฑ์อำนาจจำแนกผิดประเภทแล้ว คำถามต่อมาคือ ช่อง Corrected Item-Total Correlation คือ ช่องที่ระบุอำนาจจำแนกจริงหรือ



          ซึ่งเมื่อตรวจสอบและการคำนวณแล้วค่าจากช่อง Corrected Item-Total Correlation  ไม่ตรงกับความหมายของอำนาจแจกแนก ซึ่งความหมายที่แท้จริงแล้วคือ จากที่ยกตัวอย่างแล้วมีข้อคำถามทั้งสิ้น 65 ข้อ ค่า Corrected Item-Total Correlation ข้อที่ b1 = .725 หมายถึง สหสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลของข้อที่ b1 กับ ผลรวมข้อข้อที่ b2 ถึง b65 หรือ  สหสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลของข้อที่ b1 กับ ค่าเฉลี่ยของข้อที่ b2 ถึง b65

  
              ซึ่งจะหมายถึงความสัมพันธ์ของ ข้อ b1 สัมพันธ์กับ ข้อที่เหลือเท่าไร ซึ่งขัดแย้งกับความหมายของอำนาจจำแนก หรืออาจจะกล่าวไว้ช่อง ช่อง Corrected Item-Total Correlation เป็นการหาความสอดคล้องของข้อคำถามรายข้อกับภาพรวมกับข้อคำถามที่เหลือ
              หากปรับเปลียนและทำความเข้าใจที่ถูกต้องยอมรับฟังด้วยเหตุและผลจะทำให้ระเบียบวิธีการวิจัย การสร้างเครื่องมือการหาคุณภาพของเครื่องมือมีความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

ความสุขของอิสระ
27 เมษายน 2559
เขียนที่คอนโดหรูใกล้หาดบางแสน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ สูตรยาผีบอก

      นโยบายเปลี่ยน การปฏิบัติก็เปลี่ยน การทำวิจัยในครูก็ยิ่งลดลง เนื่องด้วยการประเมินวิทยฐานะแบบใหม่หรือเรียกกันติดปากว่า ว.21 วันนี้จะมาพ...