วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

The Torrance and Pryor model

The Torrance and Pryor model
Torrance และ Pryor ได้อธิบายรูปแบบการประเมินระหว่างเรียนว่าเป็น รากฐานของ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กล่าวคือการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการอาศัยความรู้จากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่นในห้องเรียนที่เป็นแหล่งส่งเสริมความรู้มาผสมกับความรู้เดิม จึงเกิดการเรียนรู้ (Torrance, 1993; Torrance & Pryor, 1998, 2001)
Torrance และ Pryor ได้อธิบายความแตกต่างของการประเมินผลในชั้นเรียนว่า มีอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบแรก Convergent เป็นประเภทการประเมินผลที่เน้นการวัดใจความสำคัญของเนื้อหา (Conceptual) ยึดการตอบถูกถึงผ่านซึ่งเน้นไปตามพฤติกรรมที่นิยมปฏิบัติกันมา เน้นไปในการให้คุณค่าผู้ที่สอบผ่านและสอบไม่ผ่าน (Master and Non-master) แบบที่ 2 Divergent เป็นการประเมินผลที่อาศัยทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ คือ แนวคิดทฤษฏีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเน้นไปที่ความเข้าใจอย่างแท้จริง โดยครูต้องให้ความสำคัญกับแนวคิดหลัก (Conceptual) และตรวจสอบความเข้าใจเพื่อไม่ให้นักเรียนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนออกไป (Misconception) รูปแบบที่ใช้ในการประเมินผลระหว่างเรียนแบบ Divergent นั้นจะพบอยู่ 2 รูปแบบคือ IRE และ IRF และรูปแบบการประเมินแบบ
Divergent ก็มีความเหมาะสมมากกว่าการประเมินแบบ Convergent
          Torrance และ Pryor ได้เสนอรูปแบบของการวัดผลระหว่างเรียนไว้ 4 ขั้นตอน คือ
1)      ขั้นเกริ่นนำ (task and quality criteria are communicated) เป็นกิจกรรมการเรียนการ
สอน และคุณภาพของเกณฑ์ที่ใช้ในการสื่อสาร หรือหมายถึงการสนทนากับนักเรียน โดยอาจเป็นการเริ่มเข้าสู่บทเรียน คล้ายกับครูได้เตรียมกิจกรรมการเรียนการสอนและเกณฑ์ที่ชัดเจนในชันเรียน และครูสามารถให้คำแนะนำกับผลงานของนักเรียนได้
2)      ขั้นรวบรวมข้อมูล (teachers collect) เป็นขั้นที่ครูต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับ
นักเรียน อาจใช้ข้อมูลจากการถามตอบเป็นหลัก หรืออาจเป็นการสนทนาเพื่อดูภูมิรู้ของนักเรียนก็ได้ (Metacognitive)
3)      ขั้นการสังเกต (observation of students) เป็นขั้นที่ยากเพราะครูต้องสังเกตพฤติกรรม
ด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน โดยการสังเกตจะทำได้หลากหลายเวลา ทั้งขณะที่นักเรียนทำกิจกรรม หรือหลักจากการครูถามคำถาม โดยจุดประสงค์หลักของการสังเกตในขึ้นนี้เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนด้วยการสังเกต
4)      ขั้นการใช้ข้อมูลย้อนกลับไปยังนักเรียน (feedback to the students) โดยนักเรียนต้องมี
วิจารณญาณร่วมกันในการตัดสินผล ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ยาก และการใช้ข้อมูลย้อนกลับต้องเป็นการสะท้อนถึงผลงานและคุณภาพด้านต่างๆ
สรุปการใช้รูปแบบการประเมินผลระหว่างเรียนของ Torrance และ Pryor นั้นมีหลักในการปฏิบัติอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอนคือ เป็นขั้นเกริ่นนำโดยครูเองต้องเร้านักเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการสื่อสารหรือสนทนา จากนั้นเป็นขั้นที่ครูต้องเก็บรวมรวมรวมถึงการสังเกตเพื่อเก็บข้อมูลโดยอาศัยประสบการณ์ในการจัดการชั้นเรียนเข้ามาช่วยเพื่อให้ได้รายละเอียดมากที่สุด

Torrance, H. (1993). Formative assessment: Some theoretical problems and empirical
questions. Cambridge Journal of Education, 23(3).
Torrance, H., & Pryor, J. (1998). Investigating formative assessment: Teaching, learning,
and assessment in the classroom. Philadelphia, PA: Open University Press.
Torrance, H., & Pryor, J. (2001). Developing formative assessment in the classroom:
Using action research to explore and modify theory. British Education Research

Journal, 27(5), 615-631.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ สูตรยาผีบอก

      นโยบายเปลี่ยน การปฏิบัติก็เปลี่ยน การทำวิจัยในครูก็ยิ่งลดลง เนื่องด้วยการประเมินวิทยฐานะแบบใหม่หรือเรียกกันติดปากว่า ว.21 วันนี้จะมาพ...