วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

The Cowie and Bell model

The Cowie and Bell model
          รูปแบบการประเมินผลระหว่างเรียนของ Cowie and Bell อธิบายว่า เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน (Cowie & Bell, 1999) โดยได้แยกย่อยออกเป็น 2 ประเภทคือ การประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีแบบแผน (Planned Formative Assessment) และการะประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Formative Assessment) ไม่ว่าจะเป็นการประเมินผลแบบใดผู้สอนต้องมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน โดยสิ่งที่แตกต่างกันคือการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีแบบแผนนั้นจะเน้นไปที่กระบวนการจัดการที่เฉพาะหรือหมายถึงเป็นการดูที่กระบวนการเป็นหลัก ส่วนในการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์นั้นจะเป็นการเน้นที่ตัวผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นแบบเดียวหรือกลุ่ม โดยปกติแล้วการประเมินผลแบบแบบปฏิสัมพันธ์จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการประเมินผลแบบมีแบบแผน (Cowie & Bell, 1999)
          การประเมินผลแบบมีแบบแผนนั้นมีขั้นตอนด้วยกัน 3 ขั้นตอนคือ (Cowie & Bell, 2001)
1)      ขั้นกระตุ้นเร้า (Elicit) เป็นขั้นที่ครูต้องการข้อมูลที่ได้จากตัวนักเรียน บ่อยครั้งจะอยู่ใน
ลักษณะของการประเมินผลแบบกึ่งทางการ มีการจะรายละเอียด จดการตอบโต้ของนักเรียนและนำมาอภิปรายรวมกันหลักจากจบบทเรียน
2)      ขั้นตีความ (Interpret) ในขั้นนี้จะเป็นขั้นที่เมื่อครูผู้สอนได้รับสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนแล้ว
ก็ต้องใช้ประสบการณ์ในการตีความ โดยมีเกณฑ์ในการตัดสินข้อมูลที่ได้รับมา
3)      ขั้นการปฏิบัติ (Action) จะเป็นขั้นสุดท้ายของการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีแบบแผน
ครูสามารถยึดหยุ่นได้ตามลักษณะของเนื้อหาวิชาและปรับเพื่อให้เข้ากับความต้องการของผู้เรียน (Cowie & Bell, 1999)
          การะประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์มีขั้นตอน 3 ขั้นคือ (Cowie & Bell, 1999)
1)      ขั้นเอาใจใส่ (Notice) เป็นขั้นที่ครูต้องเอาใจใส่ในตัวของนักเรียนว่ามีความเข้าใจในเนื้อหา
ไหม ถ้านักเรียนมีขนาดเล็กหรือประเมินผลแบบเดี่ยวยิ่งจะทำให้ครูดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง โดยดูอาจติดตามนักเรียนได้จากการสนทนาภายในกลุ่มจากชิ้นงาน หรือจากวิธีการอื่นที่เหมาะสม โดยทั่วไปแล้วในชั้นดังกล่าวจะเป็นขั้นที่ครูได้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียนได้เร็วกว่าการประเมินผลแบบมีแบบแผน
2)      พึงระลึก (Recognize) เป็นขั้นที่คล้ายกับความจำ (Remember) แต่จะต่างกันคือความจำ
จะเป็นสิ่งที่จำได้อยู่แล้ว แต่ พึ่งระลึก (Recognize) จะเป็นในลักษณะของการได้ยิน ได้เห็น แล้วจึ่งจำได้ ซึ่งเป็นขั้นที่ครูเมื่อได้รับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆ ของนักเรียนแล้วครูจะต้องค่อยทำหน้าที่เป็นคนตรวจสอบเพื่อไม่ให้เด็กนักเรียนได้รับองค์ความรู้ที่ผิดออกไป (Misconception) และหากพบว่านักเรียนได้รับองค์ความรู้ที่ผิดต้องรีบช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
3)      ขั้นตอบรับ (Respond) เป็นขั้นสุดท้ายของการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์จะ
มีลักษณะที่เน้นผลลัพธ์ของการเรียนรู้ จะคล้ายกับขั้นการปฏิบัติ (Action) หรือการกระทำในการประเมินผลแบบมีแบบแผน แต่จะเกิดได้เร็วกว่าเพราะในชั้นนี้จะเป็นการเชื่อมโยงโดยตรงกับขึ้น พึงระลึก (Recognize) โดยมักจะเชื่อมโยงเพื่อให้ได้สารสนเทศและเช็คความคิดหลักให้ตรงประเด็น (Cowie & Bell, 1999)
          เมื่อว่าการประเมินการะประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์นักเรียนมีความต้องการที่จะได้รับการตรวจงานทันที หากครูไม่ทำการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลย้อนกลับไปจะทำให้ไม่เกิดการประเมินผลระหว่างเรียน ทำให้ไม่ได้ทราบว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้และความเข้าใจหรือไม่ โดยการประเมินผลอาจใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยก็ได้ อีกทั้งยังเมื่อใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยก็จะเป็นการง่ายในการแสดงหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีความเข้าใจ
          การประเมินผลระหว่างเรียนโดยโมเดลของ Cowie and Bell กล่าวได้ว่า เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำการเรียนการสอนโดยจะแบ่งย่อยเป็น 2 ประเภทคือการประเมินการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีแบบแผน และการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ โดยส่วนที่แตกต่างของการประเมินผลทั้ง 2 ประเภทนั้นคือ การประเมินผลแบบมีปฏิสัมพันธ์จะเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ครูต้องให้ความสนใจนักเรียนเป็นอย่างมาก ส่วนเน้นกระบวนการในการนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจนั้นจะเป็นของการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีแบบแผน ขั้นตอนย่อย ๆ ของทั้ง 2 ประเภทนั้นก็มี 3 ขั้นตอนเช่นกัน กล่าวคือ การประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์จะเป็นส่วนย่อยของการประเมินผลแบบมีแบบแผน Cowie & Bell, 1999)


Cowie, B., & Bell, B. (1999). A model of formative assessment in science education. Assessment in Education: Principles, Policy & Practice, 6(1), 101.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ สูตรยาผีบอก

      นโยบายเปลี่ยน การปฏิบัติก็เปลี่ยน การทำวิจัยในครูก็ยิ่งลดลง เนื่องด้วยการประเมินวิทยฐานะแบบใหม่หรือเรียกกันติดปากว่า ว.21 วันนี้จะมาพ...