การประเมินผลการเรียนเป็นเรื่องที่ครูทุกคนที่ต้องปฏิบัติและให้ความสำคัญต่อการประเมินผล
เพราะผลการประเมินจะสะท้อนถึงความสำคัญได้อย่างอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนของครู การบริหารจัดการ
รวมถึงยังแสดงพัฒนาการด้านการเรียนรู้แก่เด็กนักเรียน
โดยทั่วไปแล้วการประเมินผลในชั้นเรียนแบ่งเป็น
4
ประเภทด้วยกัน (สุรีพร
อนุศาสนนันท์, 2551
; สมนึก ภัททิยธนี, 2555 ; William, 2008 ) ได้แก่
1.
การประเมินผลก่อนเรียน (Monitoring
Assessment) หมายถึง การประเมินผลที่กระทำ
ก่อนให้ข้อมูล
หรือก่อนกระบวนการเรียนการสอน หรือที่ครูส่วนใหญ่นิยมคือการสอบก่อนเรียนก็ถือได้ว่าเป็นการประเมินผลแบบก่อนเรียน
(Monitoring
Assessment) เช่นกัน
โดยประโยชน์ที่ได้รับคือ
ครูจะได้ทราบปัญหาของนักเรียนหรือเป็นการวางแผนในการจัดรูปแบบการเรียนการสอน
2.
การประเมินผลวินิจฉัย (Diagnostic
Assessment) หมายถึง การประเมินผลที่ใช้เพื่อวินิจฉัย
หรือตรวจสอบนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเรียน
โดยส่วนมากแล้วข้อสอบวินิจฉัยจะมีลักษณะเป็นการทดสอบเดี่ยว
หรือหากเป็นกลุ่มก็จะเป็นกลุ่มไม่ใหญ่มาก
ลักษณะของข้อสอบจะแคบจะให้ความสำคัญในแบบของการเจาะจงเฉพาะเนื้อหาที่ครูต้องการตรวจสอบเท่านั้น
โดยประโยชน์ที่ได้รับคือ ได้ทราบว่านักเรียนมีปัญหาเฉพาะส่วนใด
จะได้ดำเนินการแก้ไขได้ตรงจุด
3.
การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) หมายถึง การประเมินผลที่กระทำ
ในขณะที่จัดการเรียนการสอน การประเมินผลจะมีประสิทธิ์ภาพจะเป็นในลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง
ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ประโยชน์ที่ได้รับคือ
ครูสามารถติดตามพัฒนาการของนักเรียนและปรับกระบวนทัศน์และทัศนคติต่อเรื่องที่เรียน
รวมไปถึงการตรวจสอบองค์ความรู้หลัก (Concept) เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนออกไป
(Misconception)
4.
การประเมินผลสรุป (Summative
Assessment) หมายถึง การประเมินผลเพื่อสรุปและเป็น
การตัดสินผลการเรียน
โดยนำคะแนนจากส่วนต่างๆ มาใช้ในการประกอบการตัดสินใจของครู
โดยในชั้นการประเมินเพื่อสรุปนี้ จะเป็นการสรุปหรือตัดสิน เช่น ผลการเรียน
ผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นต้น
โดยประโยชน์ที่ได้รับคือ
เพื่อเป็นการสรุปว่านักเรียนมีความพร้อมระดับใดในเนื้อหาวิชาที่เรียนผ่านมา
และเป็นข้อมูลสำคัญครูที่มีหน้าที่รับผิดชอบในระดับที่สูงขึ้น
จากรูปแบบการประเมินผลทั้งหมดนี้
การประเมินผลระหว่างเรียนเป็นเรียนทีต้องให้ความสำคัญเพราะเป็นกระบวนการที่เน้นให้นักเรียนมีส่วนรวมในการเรียนการสอน
การประเมินผลระหว่างเรียนมีหลากหลายวิธีมากและจะเกิดขึ้นขณะทำการเรียนการสอน
โดยอาจจะอยู่ในแผนซึ่งครูเป็นผู้เตรียมหรืออาจจะไม่อยู่ในแผนหรืออยู่นอกเหนือจากที่คิดไว้
ดังนั้นวิธีการที่จะช่วยให้ครูได้ข้อมูลจากการประเมินผลระหว่างเรียนได้ดี คือ
เครื่องมือ โดยเครื่องมือที่ใช้ครูต้องมีความหลากหลาย
และมีความเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ
หรืออาจใช้ประสบการณ์ความเป็นครูในการจดจำหรือเก็บข้อมูล
เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดความเรียนรู้ได้ดีที่สุด
แต่สุดท้ายต้องมีการตรวจสอบความเข้าใจของเด็กเมื่อสิ้นสุดกระบวนการ
สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กาฬสินธุ์
: ประสานการพิมพ์.
สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2554). การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน.
ชลบุรี : เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.
Wiliam, D. (2008). Improving
learning in science using formative assessment. In J.
Coffey, R.
Douglas & C. Stearns (Eds.), Assessing Science Learning:
Perspectives
from Research and Practice. Arlington, VA: NSTA Press.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น