วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

The Ruiz-Primo and Furtak model

The Ruiz-Primo and Furtak model
รูปแบบการประเมินในชั้นเรียนของ Ruiz-Primo and Furtak เป็นรูปแบบการประเมินที่ใช้วงรอบการประเมินแบบ ESRU (คำถามกระตุ้นเร้าเพื่อนำเข้าบทเรียน Elicit question, การตอบสนองของนักเรียน Student response, การพึงระลึกโดยครูผู้สอน Recognition by teacher, การใช้สารสนเทศที่ได้จากนักเรียน Use of information) การประเมินผลระหว่างเรียนตามรูปแบบของ Ruiz-Primo and Furtak จะเป็นการประเมินที่เป็นวงรอบ มีเหตุเกิดขึ้นก่อนหลัง เริ่มด้วยในขั้นของ คำถามกระตุ้นเร้าเพื่อนำเข้าบทเรียน (Elicit question) ครูจะเป็นผู้ที่ป้อนข้อคำถามเพื่อให้นักเรียนได้คิด ค้นหา ร่วมหาแนวทางในการหาคำตอบ อาจจะมีลักษณะเป็นการอธิปรายย่อย ขั้นการตอบสนองของนักเรียน (Student response) เป็นขั้นที่ครูต้องสังเกตไม่ว่านักเรียนจะตอบสนองออกมา ทางรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งครูต้องอาศัยประสบการณ์ในสังเกต การพึงระลึกโดยครูผู้สอน (Recognition by teacher) จะเป็นขึ้นที่ต่อเนื่องโดยครูเมื่อเห็นพฤติกรรมการตอบสนองของนักเรียนก็จะทราบทันทีว่านักเรียนมีการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้มากน้อยเพียงใด ขั้นสุดท้ายคือ การใช้สารสนเทศที่ได้จากนักเรียน (Use of information) เป็นขั้นที่ครูต้องนำสารสนเทศในขั้นต่าง ๆ มาเพื่อใช้ประโยชน์เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด จะเป็นขึ้นที่คอยตรวจสอบขั้นตอนต่าง ๆ
ถึงแม้ว่าการประเมินผลระหว่างเรียนด้วยรูปแบบของ Ruiz-Primo and Furtak จะดำเนินเป็นวงรอบ ESRU แต่ครูผู้สอนอาจปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดีและปรับใช้ เช่น E-S-R-E-S-R แต่หากนักเรียนมีพฤติกรรมที่บ่งชี้ว่ามีความเข้าใจก็ใช้วงรอบเพียงรอบเดียว หรือหากต้องการใช้เพื่อวินิจฉัยครูผู้สอนอาจใช้วงรอบแบบ E-S-R-E-S-R-E-S-R ส่วนในขั้น U จะมีลักษณะคล้ายการตัดสินจากข้อมูลที่ผ่านจากวงรอบต่าง ๆ มา หรือในชั้นของคำถามเมื่อกระตุ้นการเรียนรู้อาจใช้ 2 วงรอบก็ได้ขึ้นอยู่กับบริบทและเนื้อหาวิชาที่ผู้ประเมินต้องการ
ในการวางแผนการประเมินระหว่างเรียนนั้นเป็นสิ่งที่ครูต้องจัดกระทำ เพราะครูผู้สอนจะได้ทราบพัฒนาการของนักเรียน หรือคอยช่วยเหลือหากนักเรียนยังมีปัญหาในการเรียน แต่สิ่งหนึ่งที่ครูต้องตระหนักคือความรู้แกนหลัก (Concept) ต้องถูกต้อง แต่กระบวนการค้นหาคำตอบอาจมีวิธีการที่หลากหลาย ครูผู้สอนเองก็ควรใช้วิธีการประเมินผลระหว่างเรียนให้เหมาะสมกับบริบทการสอนหรือนักเรียนของตนให้มากที่สุด ดังเช่นวงรอบการประเมินผลระหว่างเรียนของ Ruiz-Primo and Furtak ซึ่งจะเป็นวงรอบ ESRU จุดสิ้นสุดจะอยู่ที่ขั้น U แต่เป็นเรื่องที่ยากยิ่งเพราะในขั้น E-S หรือ S-R หรือ  E-S-R จะเป็นขั้นที่ทับซ้อนกัน เช่น เมื่อครูเริ่มที่ชั้น E ซึ่งเป็นขั้นใช้คำถามเพื่อนำสู่บทเรียน เมื่อครูถามแล้วเด็กนักเรียนอาจแสดงออกโดยฉับพลัน รวมไปถึงตัวครูเมื่อทราบถึงพฤติกรรมที่นักเรียนตอบสนองมาแล้ว ต้องใช้ประสบการณ์ในการตัดสิน อาจต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญกว่ามาเป็นผู้พิจารณา โดยครูผู้สอนต้องบันทึกผลไว้ จะเห็นได้ว่าเป็นรูปแบบการประเมินผลระหว่างเรียนที่มีความยืดหยุ่นมาก เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในห้องเรียน (Ruiz-Primo & Furtak, 2006)


Ruiz-Primo, M. A., & Furtak, E. M. (2006). Informal formative assessment and scientific
inquiry: Exploring teachers' practices and student learning. Educational

Assessment, 11(3/4), 205-235.

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

The Torrance and Pryor model

The Torrance and Pryor model
Torrance และ Pryor ได้อธิบายรูปแบบการประเมินระหว่างเรียนว่าเป็น รากฐานของ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กล่าวคือการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการอาศัยความรู้จากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่นในห้องเรียนที่เป็นแหล่งส่งเสริมความรู้มาผสมกับความรู้เดิม จึงเกิดการเรียนรู้ (Torrance, 1993; Torrance & Pryor, 1998, 2001)
Torrance และ Pryor ได้อธิบายความแตกต่างของการประเมินผลในชั้นเรียนว่า มีอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบแรก Convergent เป็นประเภทการประเมินผลที่เน้นการวัดใจความสำคัญของเนื้อหา (Conceptual) ยึดการตอบถูกถึงผ่านซึ่งเน้นไปตามพฤติกรรมที่นิยมปฏิบัติกันมา เน้นไปในการให้คุณค่าผู้ที่สอบผ่านและสอบไม่ผ่าน (Master and Non-master) แบบที่ 2 Divergent เป็นการประเมินผลที่อาศัยทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ คือ แนวคิดทฤษฏีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเน้นไปที่ความเข้าใจอย่างแท้จริง โดยครูต้องให้ความสำคัญกับแนวคิดหลัก (Conceptual) และตรวจสอบความเข้าใจเพื่อไม่ให้นักเรียนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนออกไป (Misconception) รูปแบบที่ใช้ในการประเมินผลระหว่างเรียนแบบ Divergent นั้นจะพบอยู่ 2 รูปแบบคือ IRE และ IRF และรูปแบบการประเมินแบบ
Divergent ก็มีความเหมาะสมมากกว่าการประเมินแบบ Convergent
          Torrance และ Pryor ได้เสนอรูปแบบของการวัดผลระหว่างเรียนไว้ 4 ขั้นตอน คือ
1)      ขั้นเกริ่นนำ (task and quality criteria are communicated) เป็นกิจกรรมการเรียนการ
สอน และคุณภาพของเกณฑ์ที่ใช้ในการสื่อสาร หรือหมายถึงการสนทนากับนักเรียน โดยอาจเป็นการเริ่มเข้าสู่บทเรียน คล้ายกับครูได้เตรียมกิจกรรมการเรียนการสอนและเกณฑ์ที่ชัดเจนในชันเรียน และครูสามารถให้คำแนะนำกับผลงานของนักเรียนได้
2)      ขั้นรวบรวมข้อมูล (teachers collect) เป็นขั้นที่ครูต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับ
นักเรียน อาจใช้ข้อมูลจากการถามตอบเป็นหลัก หรืออาจเป็นการสนทนาเพื่อดูภูมิรู้ของนักเรียนก็ได้ (Metacognitive)
3)      ขั้นการสังเกต (observation of students) เป็นขั้นที่ยากเพราะครูต้องสังเกตพฤติกรรม
ด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน โดยการสังเกตจะทำได้หลากหลายเวลา ทั้งขณะที่นักเรียนทำกิจกรรม หรือหลักจากการครูถามคำถาม โดยจุดประสงค์หลักของการสังเกตในขึ้นนี้เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนด้วยการสังเกต
4)      ขั้นการใช้ข้อมูลย้อนกลับไปยังนักเรียน (feedback to the students) โดยนักเรียนต้องมี
วิจารณญาณร่วมกันในการตัดสินผล ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ยาก และการใช้ข้อมูลย้อนกลับต้องเป็นการสะท้อนถึงผลงานและคุณภาพด้านต่างๆ
สรุปการใช้รูปแบบการประเมินผลระหว่างเรียนของ Torrance และ Pryor นั้นมีหลักในการปฏิบัติอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอนคือ เป็นขั้นเกริ่นนำโดยครูเองต้องเร้านักเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการสื่อสารหรือสนทนา จากนั้นเป็นขั้นที่ครูต้องเก็บรวมรวมรวมถึงการสังเกตเพื่อเก็บข้อมูลโดยอาศัยประสบการณ์ในการจัดการชั้นเรียนเข้ามาช่วยเพื่อให้ได้รายละเอียดมากที่สุด

Torrance, H. (1993). Formative assessment: Some theoretical problems and empirical
questions. Cambridge Journal of Education, 23(3).
Torrance, H., & Pryor, J. (1998). Investigating formative assessment: Teaching, learning,
and assessment in the classroom. Philadelphia, PA: Open University Press.
Torrance, H., & Pryor, J. (2001). Developing formative assessment in the classroom:
Using action research to explore and modify theory. British Education Research

Journal, 27(5), 615-631.

การประเมินผลในชั้นเรียน

การประเมินผลการเรียนเป็นเรื่องที่ครูทุกคนที่ต้องปฏิบัติและให้ความสำคัญต่อการประเมินผล เพราะผลการประเมินจะสะท้อนถึงความสำคัญได้อย่างอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนของครู การบริหารจัดการ รวมถึงยังแสดงพัฒนาการด้านการเรียนรู้แก่เด็กนักเรียน
          โดยทั่วไปแล้วการประเมินผลในชั้นเรียนแบ่งเป็น 4 ประเภทด้วยกัน (สุรีพร อนุศาสนนันท์, 2551 ; สมนึก ภัททิยธนี, 2555 ; William, 2008 ) ได้แก่
1.       การประเมินผลก่อนเรียน (Monitoring Assessment) หมายถึง การประเมินผลที่กระทำ
ก่อนให้ข้อมูล หรือก่อนกระบวนการเรียนการสอน หรือที่ครูส่วนใหญ่นิยมคือการสอบก่อนเรียนก็ถือได้ว่าเป็นการประเมินผลแบบก่อนเรียน (Monitoring Assessment) เช่นกัน  โดยประโยชน์ที่ได้รับคือ ครูจะได้ทราบปัญหาของนักเรียนหรือเป็นการวางแผนในการจัดรูปแบบการเรียนการสอน
2.       การประเมินผลวินิจฉัย (Diagnostic Assessment) หมายถึง การประเมินผลที่ใช้เพื่อวินิจฉัย
หรือตรวจสอบนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเรียน โดยส่วนมากแล้วข้อสอบวินิจฉัยจะมีลักษณะเป็นการทดสอบเดี่ยว หรือหากเป็นกลุ่มก็จะเป็นกลุ่มไม่ใหญ่มาก ลักษณะของข้อสอบจะแคบจะให้ความสำคัญในแบบของการเจาะจงเฉพาะเนื้อหาที่ครูต้องการตรวจสอบเท่านั้น โดยประโยชน์ที่ได้รับคือ ได้ทราบว่านักเรียนมีปัญหาเฉพาะส่วนใด จะได้ดำเนินการแก้ไขได้ตรงจุด
3.       การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) หมายถึง การประเมินผลที่กระทำ
ในขณะที่จัดการเรียนการสอน  การประเมินผลจะมีประสิทธิ์ภาพจะเป็นในลักษณะของการประเมินตามสภาพจริง ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ประโยชน์ที่ได้รับคือ ครูสามารถติดตามพัฒนาการของนักเรียนและปรับกระบวนทัศน์และทัศนคติต่อเรื่องที่เรียน รวมไปถึงการตรวจสอบองค์ความรู้หลัก (Concept) เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนออกไป (Misconception)
4.       การประเมินผลสรุป (Summative Assessment) หมายถึง การประเมินผลเพื่อสรุปและเป็น
การตัดสินผลการเรียน โดยนำคะแนนจากส่วนต่างๆ มาใช้ในการประกอบการตัดสินใจของครู โดยในชั้นการประเมินเพื่อสรุปนี้ จะเป็นการสรุปหรือตัดสิน เช่น ผลการเรียน ผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นต้น โดยประโยชน์ที่ได้รับคือ เพื่อเป็นการสรุปว่านักเรียนมีความพร้อมระดับใดในเนื้อหาวิชาที่เรียนผ่านมา และเป็นข้อมูลสำคัญครูที่มีหน้าที่รับผิดชอบในระดับที่สูงขึ้น
          จากรูปแบบการประเมินผลทั้งหมดนี้ การประเมินผลระหว่างเรียนเป็นเรียนทีต้องให้ความสำคัญเพราะเป็นกระบวนการที่เน้นให้นักเรียนมีส่วนรวมในการเรียนการสอน การประเมินผลระหว่างเรียนมีหลากหลายวิธีมากและจะเกิดขึ้นขณะทำการเรียนการสอน โดยอาจจะอยู่ในแผนซึ่งครูเป็นผู้เตรียมหรืออาจจะไม่อยู่ในแผนหรืออยู่นอกเหนือจากที่คิดไว้ ดังนั้นวิธีการที่จะช่วยให้ครูได้ข้อมูลจากการประเมินผลระหว่างเรียนได้ดี คือ เครื่องมือ โดยเครื่องมือที่ใช้ครูต้องมีความหลากหลาย และมีความเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ หรืออาจใช้ประสบการณ์ความเป็นครูในการจดจำหรือเก็บข้อมูล เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดความเรียนรู้ได้ดีที่สุด แต่สุดท้ายต้องมีการตรวจสอบความเข้าใจของเด็กเมื่อสิ้นสุดกระบวนการ

สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2554). การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน. ชลบุรี : เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.
Wiliam, D. (2008). Improving learning in science using formative assessment. In J.
Coffey, R. Douglas & C. Stearns (Eds.), Assessing Science Learning:

Perspectives from Research and Practice. Arlington, VA: NSTA Press.

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

The Cowie and Bell model

The Cowie and Bell model
          รูปแบบการประเมินผลระหว่างเรียนของ Cowie and Bell อธิบายว่า เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน (Cowie & Bell, 1999) โดยได้แยกย่อยออกเป็น 2 ประเภทคือ การประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีแบบแผน (Planned Formative Assessment) และการะประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Formative Assessment) ไม่ว่าจะเป็นการประเมินผลแบบใดผู้สอนต้องมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน โดยสิ่งที่แตกต่างกันคือการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีแบบแผนนั้นจะเน้นไปที่กระบวนการจัดการที่เฉพาะหรือหมายถึงเป็นการดูที่กระบวนการเป็นหลัก ส่วนในการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์นั้นจะเป็นการเน้นที่ตัวผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นแบบเดียวหรือกลุ่ม โดยปกติแล้วการประเมินผลแบบแบบปฏิสัมพันธ์จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการประเมินผลแบบมีแบบแผน (Cowie & Bell, 1999)
          การประเมินผลแบบมีแบบแผนนั้นมีขั้นตอนด้วยกัน 3 ขั้นตอนคือ (Cowie & Bell, 2001)
1)      ขั้นกระตุ้นเร้า (Elicit) เป็นขั้นที่ครูต้องการข้อมูลที่ได้จากตัวนักเรียน บ่อยครั้งจะอยู่ใน
ลักษณะของการประเมินผลแบบกึ่งทางการ มีการจะรายละเอียด จดการตอบโต้ของนักเรียนและนำมาอภิปรายรวมกันหลักจากจบบทเรียน
2)      ขั้นตีความ (Interpret) ในขั้นนี้จะเป็นขั้นที่เมื่อครูผู้สอนได้รับสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนแล้ว
ก็ต้องใช้ประสบการณ์ในการตีความ โดยมีเกณฑ์ในการตัดสินข้อมูลที่ได้รับมา
3)      ขั้นการปฏิบัติ (Action) จะเป็นขั้นสุดท้ายของการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีแบบแผน
ครูสามารถยึดหยุ่นได้ตามลักษณะของเนื้อหาวิชาและปรับเพื่อให้เข้ากับความต้องการของผู้เรียน (Cowie & Bell, 1999)
          การะประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์มีขั้นตอน 3 ขั้นคือ (Cowie & Bell, 1999)
1)      ขั้นเอาใจใส่ (Notice) เป็นขั้นที่ครูต้องเอาใจใส่ในตัวของนักเรียนว่ามีความเข้าใจในเนื้อหา
ไหม ถ้านักเรียนมีขนาดเล็กหรือประเมินผลแบบเดี่ยวยิ่งจะทำให้ครูดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง โดยดูอาจติดตามนักเรียนได้จากการสนทนาภายในกลุ่มจากชิ้นงาน หรือจากวิธีการอื่นที่เหมาะสม โดยทั่วไปแล้วในชั้นดังกล่าวจะเป็นขั้นที่ครูได้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียนได้เร็วกว่าการประเมินผลแบบมีแบบแผน
2)      พึงระลึก (Recognize) เป็นขั้นที่คล้ายกับความจำ (Remember) แต่จะต่างกันคือความจำ
จะเป็นสิ่งที่จำได้อยู่แล้ว แต่ พึ่งระลึก (Recognize) จะเป็นในลักษณะของการได้ยิน ได้เห็น แล้วจึ่งจำได้ ซึ่งเป็นขั้นที่ครูเมื่อได้รับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆ ของนักเรียนแล้วครูจะต้องค่อยทำหน้าที่เป็นคนตรวจสอบเพื่อไม่ให้เด็กนักเรียนได้รับองค์ความรู้ที่ผิดออกไป (Misconception) และหากพบว่านักเรียนได้รับองค์ความรู้ที่ผิดต้องรีบช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
3)      ขั้นตอบรับ (Respond) เป็นขั้นสุดท้ายของการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์จะ
มีลักษณะที่เน้นผลลัพธ์ของการเรียนรู้ จะคล้ายกับขั้นการปฏิบัติ (Action) หรือการกระทำในการประเมินผลแบบมีแบบแผน แต่จะเกิดได้เร็วกว่าเพราะในชั้นนี้จะเป็นการเชื่อมโยงโดยตรงกับขึ้น พึงระลึก (Recognize) โดยมักจะเชื่อมโยงเพื่อให้ได้สารสนเทศและเช็คความคิดหลักให้ตรงประเด็น (Cowie & Bell, 1999)
          เมื่อว่าการประเมินการะประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์นักเรียนมีความต้องการที่จะได้รับการตรวจงานทันที หากครูไม่ทำการตรวจสอบหรือให้ข้อมูลย้อนกลับไปจะทำให้ไม่เกิดการประเมินผลระหว่างเรียน ทำให้ไม่ได้ทราบว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้และความเข้าใจหรือไม่ โดยการประเมินผลอาจใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยก็ได้ อีกทั้งยังเมื่อใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยก็จะเป็นการง่ายในการแสดงหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีความเข้าใจ
          การประเมินผลระหว่างเรียนโดยโมเดลของ Cowie and Bell กล่าวได้ว่า เป็นการประเมินผลที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำการเรียนการสอนโดยจะแบ่งย่อยเป็น 2 ประเภทคือการประเมินการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีแบบแผน และการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ โดยส่วนที่แตกต่างของการประเมินผลทั้ง 2 ประเภทนั้นคือ การประเมินผลแบบมีปฏิสัมพันธ์จะเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ครูต้องให้ความสนใจนักเรียนเป็นอย่างมาก ส่วนเน้นกระบวนการในการนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจนั้นจะเป็นของการประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีแบบแผน ขั้นตอนย่อย ๆ ของทั้ง 2 ประเภทนั้นก็มี 3 ขั้นตอนเช่นกัน กล่าวคือ การประเมินผลระหว่างเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์จะเป็นส่วนย่อยของการประเมินผลแบบมีแบบแผน Cowie & Bell, 1999)


Cowie, B., & Bell, B. (1999). A model of formative assessment in science education. Assessment in Education: Principles, Policy & Practice, 6(1), 101.

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

รูปแบบการประเมินผลระหว่างเรียน โมเดลของThe Black and William Model

The Black and William Model
 The Black and William Model  เป็นรูปแบบที่พัฒนาผู้เรียนทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ตามที่ William (2006) ได้กล่าวว่า คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลต้องมีความหลากหลาย และต้องเป็นกิจกรรมการวัดผลที่เกิดขึ้นจริงขณะที่อยู่ในชั้นการเรียนการสอน ครูเองต้องมีการพัฒนาเพื่อให้การประเมินผลเป็นในในการที่ดีและตัวเด็กได้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลระหว่างเรียน โดยได้หลักในการประเมินผลระหว่างเรียนไว้ 4 หลักการ คือ
          หลักการที่ 1 ขั้นการตั้งคำถาม ในขั้นนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นการพัฒนาทักษะที่จะช่วยให้นักเรียนได้เกิดการพัฒนาทั้งในด้านผลงาน การเรียน และเป็นกระบวนการที่ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา (Recall)
          หลักการที่ 2 ขั้นการให้ข้อมูลแบบย้อนกลับเพื่อการพัฒนาผู้เรียน (Feedback) โดยในขั้นนี้นักเรียนจะต้องแสดงความคิดเห็นต่อชิ้นงานของตน นักเรียนสามารถที่จะปรับปรุงผลงานตามคำแนะนำของครูและนำมาส่งใหม่ได้ ในบางกรณีการให้ข้อมูลแบบย้อนกลับอาจสิ่งเสริมให้นักเรียนได้เกิดแนวคิดที่จะพัฒนาต่อยอดผลงานตนเองและจะสิ้นสุดกระบวนการเมื่อนักเรียนพึงพอใจในผลงานของนักเรียน
          หลักการที่ 3 ขั้นการประเมินตนเอง และเพื่อนประเมิน ห้องเรียนในปัจจุบันการประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนจะเพิ่มมากขึ้น เพราะในกิจวัตรประจำวันนักเรียนจะมีกิจกรรมร่วมกับเพื่อนมากกว่าครู ดังนั้นการประเมินโดยเพื่อนประเมินนั้นย่อมส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีของนักเรียน แต่สิ่งที่สำคัญในการประเมินตนเองและเพื่อนประเมินนั้นต้องมีความชัดเจนในเรื่องของ เกณฑ์การประเมินหรือการกำหนด Rubric Score
          หลักการที่ 4 ขั้นการสรุป ในการสรุปในขั้นนี้จะเป็นการสรุปผลระหว่างเรียนเพื่อให้ได้สาระที่ต้องการสรุปผลและต่อยอดการเรียนรู้ต่อไป ผลที่ได้จากการสรุปผลระหว่างเรียนจะช่วยให้นักเรียนได้ทราบถึงจุดเด่น หรือจุดด้อยที่ต้องเร่งพัฒนาต่อไป
สรุปรูปแบบการประเมินผลระหว่างเรียนของ The Black and William คือจะมี 4 ขั้นหลักๆ โดยเริ่มจากคำถาม ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อนและการประเมินตนเอง และสุดท้ายที่การประเมินสรุปผล แต่ข้อจำกัดของการใช้รูปแบบนี้นะการประเมินผลระหว่างเรียนก็มีเช่นกัน เพราะไม่อาจใช้ได้กับทุกเนื้อหา
ครูจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและบริบทนั้น ๆ โดยสิ่งที่ครูต้องคงไว้เพื่อความเข้าใจในเชื่อเนื้อหาคือแนวความคิดหลัก (Concept) เช่น ในชั้นของการใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนานั้น วัตถุประสงค์หลักคือการปรับปรุงงานตามนำแนะนำว่าจะเป็นในเรื่องของคุณภาพของงาน แต่ยังคงต้องคงความรู้ความเข้าใจในแนวคิดหลัก (Concept) ด้วยว่าต้องอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้อง โดยรูปแบบการประเมินผลของ The Black and William

วัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ สูตรยาผีบอก

      นโยบายเปลี่ยน การปฏิบัติก็เปลี่ยน การทำวิจัยในครูก็ยิ่งลดลง เนื่องด้วยการประเมินวิทยฐานะแบบใหม่หรือเรียกกันติดปากว่า ว.21 วันนี้จะมาพ...