วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

วัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ สูตรยาผีบอก

      นโยบายเปลี่ยน การปฏิบัติก็เปลี่ยน การทำวิจัยในครูก็ยิ่งลดลง เนื่องด้วยการประเมินวิทยฐานะแบบใหม่หรือเรียกกันติดปากว่า ว.21 วันนี้จะมาพูดถึง วัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ หากใครทำหลุดประเด็นไปจากนี้เป็นอันว่า งานวิจัยคุณได้กลับมาปรับปรุงแน่นอน ต้องย้อนกลับไปก่อนเมื่อประมาณปี 2554 ผมได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม ทำผลงานครู คศ.4 ในขณะที่ผมเป็นครูผู้ช่วย และยังไม่จบปริญญาโท สิ่งที่ผมได้รับคือ แบบฟอร์มงานวิจัย 5 บท ชนิดเติมคำลงในช่องว่าง และต้องได้รับการอบรมประมาณ 8 ครั้ง 8 เดือน สรุปง่ายๆ คือ คณะครู ผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มหนึ่งจ้าง รศ.ดร. ท่านหนึ่งมาเป็นที่ปรึกษา ความคิดของผมในขณะนั้น มันยอดมาก ที่มีแบบสำเร็จรูปต่างๆ ให้เราสามารถจัดทำได้เลย
      วันเวลาผ่านไป แบบฟอร์มงานวิจัย 5 บท นั้นเริ่มเป็นที่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะมากขึ้น เป็นอันว่าใครทำงานวิจัย (งาน คศ.3) ที่ต่างจากนี้ แม่เจ้าต้องถูกผู้เชี่ยวชาญที่ไม่น่าจะเชี่ยวชาญ บอกว่าต้องปรับตามแบบนี้เท่านั้น และในตอนนี้ปี 2561 แล้วชุดความคิดดังกล่าว ก็ยังฝั่งรากลึกสู่ผู้ผู้เชี่ยวชาญที่ไม่น่าจะเชี่ยวชาญรุ่นสู่รุ่น ทำให้นักวิจัยในศาสตร์อื่นมองว่า ทำงานวิจัย (งาน คศ.3) ไร้ประโยชน์สิ้นดี
      เข้าเรื่องเลยแล้วกัน จากจุดประสงค์การวิจัยดังต่อไปนี้ คุ้นกันไหมครับ
         1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของ (นวัตกรรม)
         2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนใช้ 
(นวัตกรรม)
         3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังใช้นวัตกรรม 
(นวัตกรรม)

     ขยายข้อที่ 1 จะมีตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้อง 75/75 80/80 85/85 90/90 ตัวเลขที่กล่าวมานี้หากท่านยังไม่เข้าใจสามารถตามอ่านได้ในบทความ ว่าด้วย ค่า E1/E2  Thailand only Ep1-3
https://issarabuu.blogspot.com/2018/03/e1e2-thailand-only-ep1.html

https://issarabuu.blogspot.com/2018/03/e1e2-thailand-only-ep2.html

https://issarabuu.blogspot.com/2018/03/e1e2-thailand-only-ep3.html

จะเห็นได้ว่า การตั้งจุดประสงค์ในข้อแรก ผมว่าผู้คิดมีความตั้งใจจะสื่อถึงกระบวนการการจัดทำนวัตกรรม โดยใช้ตัวเลขจำนวนมากเป็นตัวแทนว่าคุณภาพนี้คือ คุณภาพคับแก้ว สำหรับผมมองว่าตัวเลขนั้นเล่นแร่แปรธาตุได้ อย่าไปใส่ใจให้มาก ครูผู้สอนหากจะทำตามชุดความเชื่อเดิมๆ ผมมองว่าไม่ผิดหากท่านตั้งใจที่จะทำและทำขึ้นมาจริง 
     ขยายข้อที่ 2 จะมีนัยสำคัญทางสถิติเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะโยงไปถึงการอ้างอิงกลับไปสู่ประชาชน ประชากรหรือคนหมู่มากที่มีคุณสมบัติเหมือนกับการวิจัย ง่ายๆ หลังเรียนต้องมากกว่าก่อนเรียน ถ้าหลังเรียนไม่มากกว่าแสดงว่าไม่ใช่แล้ว สำหรับตัวผมมองในมิติใหม่ งานวิจัยที่ทำในห้องเรียน หรืองานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาไม่จำเป็นต้องมีการอ้างอิงกลับ (generalization) เพราะมิติหรือมโนทัศน์ใหม่ของการวิจัย อาจทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การให้คำตอบกับสิ่งที่สนใจเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจเป็นประโยชน์มากเพียงพอแล้ว ยกตัวอย่าง งานวิจัยในชั้นเรียนท่านทำเพื่อพัฒนานักเรียนกลุ่มอ่อน เพียงกลุ่มเดียว ท่านก็เพียงพัฒนาโดยดูพัฒนาการของผู้เรียน บรรยายการแก้ปัญหา และรายงานก่อน ระหว่าง และหลัง เพียงเท่านี้ผมว่าประโยชน์มันมหาศาล กว่าการที่จะบอกว่า สิ่งที่คุณทำมัน sig เป็นไหนๆ 
     ขยายข้อที่ 3 ข้อนี้ถ้านักเรียนบอกว่าไม่พึงพอใจ ครูจะกล้ารายงานตามความเป็นจริงไหมยกตัวอย่างมีงานวิจัยที่ผ่าน คศ. 3 แล้ว 1000 เรื่อง คำตอบที่ได้จากวัตถุประสงค์ข้อนี้ ท่านว่าจะเหมือนกันไหม ถ้ามองให้ลึกๆ การตั้งวัตถุประสงค์ของข้อนี้เป็นกระบวนการ คุมตัวแปรเกิน คุมแบบไหน ก็เป็นการเช็คกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมายของเราว่า มีความรู้สึกอย่างไร เบื่อหรือเปล่า ถ้าเบื่อจะสะท้อนออกในรูปของคะแนนที่น้อย ครูก็ต้องปรับเปลี่ยนเสีย แต่โดยทั่วไปแล้วครูจะใช้ประเมินหลังสอนจบ หรือสิ้นสุดกระบวนการแล้วเท่านั้น
     การตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยตาม 3 ข้อที่ว่า ผมไม่พันธงว่าผิดหรือถูก แต่ให้นึกถึงกระบวนการดำเนินการมากว่า นึกถึงขั้นตอนการได้มาซึ่งข้อมูลดีกว่า และลองปรับเปลี่ยนแนวคิด ปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ของการวิจัย เพื่อท่านจะได้เห็นประโยชน์อันน้อยนิดที่มาจาก การลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง 

                                                 ความสุขของอิสระ 
                                                  16/09/2561

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

ว่าด้วย ค่า E1/E2 Thailand only Ep3



           ในตอนที่ผ่านมานั้นผู้เขียนได้อธิบายถึง ตัวเลขที่ใช้เปรียบเทียบกันค่าบางตัว ซึ่งทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าทำไมถึงนิยม 75/75 หรือ 80/80 ในตอนที่ 3 นี้จะกล่าวถึงที่มาของคะแนน E1/E2 นั้นมากจากไหม มีข้อถกเถียงเป็นอย่างมากซึ่งคำตอบที่ผมได้จากผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เชี่ยวชาญ ก็จะตอบแบบไม่ใช่ในเชิงที่นำไปปฏิบัติได้เลย ขอยกตัวอย่าง ดังนี้

        ครู โต้ง คิดค้นนวัตกรรม เป็นคู่มือการสอนวิทยาศาสตร์ ในคู่มือประกอบไปด้วย แผน กิจกรรม คะแนนก่อนเรียนหลังเรียน  จากเหตุการณ์ข้างต้นใครรวมคะแนน เพื่อหาค่า E1 ได้ถูกต้อง
 
1)   ครูหนึ่งทำการรวมคะแนนเพื่อคิดเป็นร้อยละจาก คะแนน
กิจกรรม คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน  คิดเป็น E1

        2)  ครูสองทำการรวมคะแนนเพื่อคิดเป็นร้อยละจาก คะแนนทำ
       กิจกรรม คะแนนก่อนเรียน คิดเป็น E1

จากทั้ง 2 ข้อ คำถามใครคิดที่มาของคะแนน E1 ถูก 
คำตอบคือ ถูกทั้งสอง เพราะถ้าคิดตามครูหนึ่งคิดคะแนนหลังเรียนมารวมด้วย ก็เพราะว่านักเรียนกลุ่มที่พัฒนา ต้องสอบเพื่อสรุป ล่วนครูสองก็ถูกหากรูปแบบการเก็บ E1 ระบุชัดว่า ตัวที่จะตัดสินผลคือคะแนนหลังเรียน หรือให้คิดว่ากระบวนการที่มาในระหว่างเรียนคือค่าที่จะนำมาคิด E1 ส่วนกระบวนการเพื่อสรุปตัดสิน คือค่าที่จะนำมาคิด E2

จะเห็นได้ว่ารายละเอียดเล็กน้อย ที่ผิดแปลกไปบ้าง โดยที่ผู้เชี่ยวชาญแต่ไม่เชี่ยวชาญอ่านงานนั้นจะทำให้งานวิจัยของเราดูผิด หรือไม่ถูกตามที่เคยพบเคยเห็นมา ผมจึงมองว่าผู้เชี่ยวชาญแต่ไม่เชี่ยวชาญนี้ละภัยร้าย ของสังคม ประเมินวิทยฐานะครู

ความสุขของอิสระ 13/03/2561

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561

ว่าด้วย ค่า E1/E2 Thailand only Ep2



                เท้าความถึง Ep1 เป็นการอธิบายความหมาย ซึ่งบางท่านอ่านแล้วอาจจะ “งง” ยิ่งกว่าเดิม มีคำถามมีมากมายที่ทำให้เปิดโอกาสให้ได้เขียน Ep ถัดไป ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ E1/E2 เปรียบเทียบกันได้หรือไม่ทั้งๆ ที่คะแนนเต็มไม่เท่ากัน
คะแนนก่อนเรียนหลังเรียน ตรงไหนคือ E1 ตรงไหนคือ E2  บล๊าๆๆๆๆๆๆ ปัญหาโลกแตก
                วันนี้ใน Ep2 จะพูดถึง ตัวเลข 75/75 80/80 แล้วเป็นตัวเลขอื่นได้ไหม ตรงนี้ตอบได้เลยว่าได้ แล้วทำไมตัวเลข 75 และ 80 ถึงเป็นที่นิยมใช้ ตอบในเชิงเปรียบเทียบนะครับว่ามันคือค่า แฟชั่น ที่นิยมใช้ความหมายตรงตามตัวเลขของมันครับ คือ คิดได้ร้อยละ 75 และ 80 (75/100 หรือ 80/100) ถ้ายังมองไม่เห็นภาพ ก็ให้ท่านได้นึกถึง 75 เทียบได้กับเกรด 3.5 หรือ B+ ส่วน 80 เทียบได้กับเกรด 4 หรือ A
                เห็นไหมครับว่าที่นิยมตั้ง 75/75 และ 80/80 ก็เพราะว่าเป็นเกณฑ์ที่เรียกได้ว่าสวยงาม แต่ถ้าพิจารณาถึงกระบวนการต่างๆ แล้วคะแนนทั้งสองส่วนนั้น ถ้ากระทำตามปัจจุบันยังมีจุดที่เมื่อนำมาเปรียบเทียบแล้วยังดูไม่น่าเชื่อถือ เพราะจะมีข้อโต้แย้งว่าคะแนนทั้งสองหน่อยไม่เท่ากันเปรียบเทียบกันได้อย่างไร เพราะแค่ค่า E1 เองก็เป็นการผสมคะแนนหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น คะแนนไก่ คะแนนหมู คะแนนแมว ตรงนี้เองยังเป็นจุดที่ยังไม่เหมาะสมของการใช้คะแนนในหน่วยที่แตกต่างกัน หากปรับโดยใช้คะแนนมาตรฐานตรงนี้จะทำให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ศึกษาได้จาก https://issarabuu.blogspot.com/2014/07/z-scores_11.html
                สำหรับ Ep2 ก็จบลงเพียงเท่านี้ใครมีข้อคิดเห็น หรือความรู้ใหม่ๆ แชร์ความคิดได้นะครับ

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561

ว่าด้วย ค่า E1/E2 Thailand only Ep1



           จะเห็นได้ว่าช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเลื่อนวิทยฐานะครู ทำให้ใครที่อยู่ในช่วงคาบเกี่ยวต้องเร่งผลิตผลงาน ซึ่งหนึ่งในนั้นคืองานวิจัย หลายต่อหลายคนมองว่างานวิจัยไม่มีประโยชน์โดยเฉพาะในวงการศึกษา ตัวผู้เขียนเองก็เคยมีมุมมองเช่นนั้น แต่เมื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์แล้วพบว่างานวิจัยเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งหากกระทำจริง เพราะงานวิจัยก็คือการแสดงหลักฐานที่เป็นสากลประจักษ์ แต่ในปัจจุบันการแสดงหลักฐานได้ถูกปลูกฝั่งและให้เชื่อแค่ในสิ่งที่เคยเห็น พูดง่ายๆ คือ หากใครทำอะไรที่นอกเหนือจากสิ่งที่เคยเป็น ผลงาน ค.ศ. 3 ตกแน่นอน  ผมมองว่าความผิดไม่ใช่ระบบนะครับ แต่เป็นความผิดที่ผู้อ่านผลงานวิจัยการส่วนมาก คือผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เชี่ยวชาญ (Expert don t Expert)
           เข้าเรื่องกัน แล้ว E1/E2 คืออะไร ผมจะไม่แปลตามคำนิยามนะครับแต่จะอภิบายในเชิงปฏิบัติ มีรายละเอียดดังนี้
 1)  เริ่มแรก คุณครูนักวิจัยมีความต้องการที่จะพัฒนาอะไรสักอย่างแก่ผู้เรียน สิ่งนั้นคือนวัตกรรม แล้วเราจะรู้ยังไรละว่ามันดีหรือไม่ดี ก็ได้มีนักวิชาการได้คิดเกณฑ์ คือ 80/80 หรือ 75/75
          2) แล้วมันคืออะไรกัน เมื่อครูได้นวัตกรรมแล้วศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วงานวิจัยต่างๆ ก็บ่งชี้ว่า
สิ่งนั้นสิ่งนี้ดีนะเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 หรือ 75/75
               3) เมื่อครูมั่นใจแล้วว่านวัตกรรมของตนเอง น่าจะสำเร็จก็ทำการสร้าง (ตรงนี้หากผู้เชี่ยวชาญจริงจะมีข้อแนะนำว่าต้องทำอย่างไรให้น่าเชื่อถือ แต่เชื่อไหมงาน ค.ศ.3 เกือบ 100% ผู้เชี่ยวชาญแต่ไม่เชี่ยวชาญ มองผ่าน)
               4) เมื่อได้แล้วก็นำไปทดลองใช้กับกลุ่มเสมือนจริง ในสัดส่วนต่างๆ ก็ไปกันไป กลุ่ม เก่ง กลาง อ่อน
               5) และแล้วก็มาถึงกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มที่เราจะทำการศึกษา เมื่อผ่านขั้น 1 ถึง 4 แล้ว ทำอย่างไรต่อละ เราก็เอามาใช้กับกลุ่มนักเรียนของคุณครูเลย แล้ว E1/E2 คืออะไร E1 มันก็คือ คะแนนที่แปลอย่างหยาบให้อยู่ในรูปของร้อยละได้จากกระบวนการเรียนการสอน หรือจาก ผลร้อยละที่ได้จาก Formative assessment และเมื่อถ้า E1 คือได้มาก 75 ขึ้น เราก็จะคาดการณ์ว่า E2 ต้องมีค่ามากตามด้วย อภิบายได้ว่า E2 ก็คือคือ คะแนนที่แปลอย่างหยาบให้อยู่ในรูปของร้อยละ ได้จากการวัด ที่คุณครูนักวิจัยผ่านการหาคุณภาพ และบ่งชี้ว่า คือการวัดเพื่อตัดสินว่าเด็กรู้เรื่องดังกล่าวหรือไม่ หรือ คะแนนร้อยละที่ได้จาก Summative assessment
         กล่าวง่ายๆ คือ เมื่อ กระบวนการ Formative assessment ดี ผล Summative assessment มันก็น่าจะดีด้วย ติดตามต่อให้ Ep2 นะครับ

วัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ สูตรยาผีบอก

      นโยบายเปลี่ยน การปฏิบัติก็เปลี่ยน การทำวิจัยในครูก็ยิ่งลดลง เนื่องด้วยการประเมินวิทยฐานะแบบใหม่หรือเรียกกันติดปากว่า ว.21 วันนี้จะมาพ...