ก่อนจะพิจารณาว่าความยากของข้อสอบสำคัญไหม
เรามาทำความรู้จักกับความยากของแบบทดสอบกันก่อน
โดยในการเขียนแสดงความคิดเห็นครั้งนี้เป็นการใช้กรณีศึกษาของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทั่วไปที่เป็นกรณีตอบถูกกำหนดให้เป็น 1 และตอบผิดกำหนดให้เป็น 0
1.
ความยากข้อข้อสอบคืออะไร ตอบแบบทางการหน่อยมันก็คืออัตราส่วนของผู้ที่ตอบถูกหารด้วยผู้ที่
เข้าสอบทั้งหมดโดยพิจารณาเป็นรายข้อ
จะเห็นได้ว่าหากผู้ที่ตอบถูกในข้อนั้นๆ มากจะทำให้ค่าความยากมีค่าสูง(ข้อนี้คนตอบถูกเยอะน่าจะง่าย) ในทางตรงกันข้ามหากมีผู้ที่ตอบข้อสอบข้อนั้นถูกจำนวนไม่มากก็จะทำให้ค่าความยากมีค่าน้อย (ข้อนี้คนตอบถูกน้อยน่าจะยาก)
ตัวอย่าง มีผู้เข้าสอบทั้งหมด 10 คน ในข้อที่ 1 ตอบถูกทั้งสิ้นจำนวน 8 คน ค่าความยากจะเท่ากับ 8/10=0.80 และในข้อที่ 2
ตอบถูกทั้งสินจำนวน 3 คน ค่าความยากจะเท่ากับ 2/10=
0.20 คน
2.
0.20 ถึง 0.80
เป็นค่าที่ถือว่าข้อสอบมีคุณภาพจริงหรือ หากศึกษาจากตำราไทยร้อยละ
99.99
มีทิศทางเดียวกันคือ
ค่าความยากตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.80 ถือว่าข้อสอบข้อนั้นมีค่าความยากที่ถือว่าใช้ได้
ควรเก็บข้อคำถามนั้นไว้ใช้เก็บข้อมูลจริงได้ คำถามในใจต่อมาจริงหรือ ต้องตอบก่อนว่าเหตุผลที่ตำราไทยให้คำแนะนำว่าข้อสอบควรมีค่าความยากระหว่าง
0.20 ถึง 0.80 เพราะในการทดสอบที่ใช้ข้อสอบแบบกรณี
2 ค่า (Dichotomous) คือกำหนดให้ตัวเลือก
(Choice) ตอบถูกกำหนดให้มีค่าเป็น 1 ตอบผิดให้มีค่าเป็น
0 จะเชื่อโยงเข้าไปสู่ความแปรปรวนรายข้อ
คือกำหนดช่วงให้มีขนาดกว้างมากขึ้นจะทำให้ความแปรปรวนรายข้อของข้อสอบข้อนั้นลดต่ำลง
และเมื่อความแปรปรวนของข้อคำถามลดต่ำลงก็จะเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความเที่ยงของข้อสอบกรณีอิงกลุ่ม
(KR-20, KR-21) สูงขึ้นนั้นเอง
ดังนั้นแล้วสารสนเทศที่ได้จากค่าความยากของข้อสอบจึงบอกความมีคุณภาพได้ไม่มาก
จึงควรใช้เกณฑ์การหาคุณภาพของข้อสอบอื่นๆ ร่วมด้วย
3.
เราไม่ต้องการความยากได้ไหม ในการแสดงความคิดเห็นครั้งนี้เน้นนะครับคือการยกตัวอย่างบริบท
จริงกับแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ที่ครูใช้กับนักเรียนโดยทั่วไป
ตอบครับหากต้องการทำให้ถูกต้องตามกระบวนการวิจัยหรือระเบียบวิธีวิจัยไทยที่ทำตามกันมา การหาความยากก็ไม่เสียหายอะไร
แต่ในมุมมองที่เปิดกว้างทางการศึกษาด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์เราไม่จำเป็นต้องการค่าความยากก็ได้หากตัวครูผู้สอนสร้างข้อคำถามได้มีความตรง
(Validity) คำเตือน หากท่านทำงานวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะควรทำตามกติกา
เพราะเนื่องจากกรรมการที่ตรวจงานของท่านมักไม่เปิดมุมมองข้างต้น
แต่หากพูดถึงกรณีการนำความยากไปใช้ประโยชน์ทางตรงกรณีที่โรงเรียนมีการใช้ระบบคลังข้อสอบหรือพัฒนาคลังข้อสอบ
(Item bank)
4.
อยากให้ครูนำประโยชน์จากความยากไปใช้ กรณีนี้อาจจะไม่ถึงระบบคลังข้อสอบก็ได้
ยกตัวอย่าง
โต้งสอบวิชาวิทยาศาสตร์ตก
ครูผู้สอนหากคำนึงถึงความได้เปรียบเสียเปรียบความเท่าเทียบกัน
ครูก็ต้องใช้ข้อสอบข้อใหม่แต่มีความยากที่ใกล้เคียงกันหรือเท่ากับของเดิมซึ่งเป็นได้ได้ยากและเสียเวลามากถ้าไม่มีระบบคลังข้อสอบ
จากประโยชน์ข้างต้นทำให้ทุกวันนี้ถูกพัฒนาไปในเรื่องของการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ
ภาษานักวัดผลจะพูดว่าข้อสอบข้องนั้น diff ไหม
ความยากข้อสอบสอบเป็นการแสดงจำนวนคนหรืออัตราส่วนที่ตอบถูกในข้อนั้นๆ
ประโยชน์ที่ได้จากการหานำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย
หากผู้ประเมินผลการวิจัยที่ตั้งตนเป็นผู้เชี่ยวชาญแต่ไม่เชี่ยวชาญเปิดใจรับฟังเหตุผลจะทำให้ครูประหยัดเวลาอาจจะไม่มาก
แต่ก็หากแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรต่อ
แต่หากโรงเรียนของท่านมีระบบคลังข้อสอบ (Item bank) หรือกำลังพัฒนาภายใต้การวัดแบบดั่งเดิมความยากจำเป็นอย่างมากที่ครูจำเป็นต้องหา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น