วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เตือนภัยรูปแบบการตลาด Forex หวยชุด

นับวันน่าเป็นห่วง นับวันยิ่งน่ากลัว นับวันคนที่อ่อนไหวต่อความใจบุญเชิงธุรกิจยิ่งมีมาก วันนี้ผมอยากมาเดือนภัยของการเทรด Forex ซึ่งเทพๆ ผู้สอนจะใช้วิธีให้ท่านกดไลค์กดแชร์ เพื่อทำการตลาดแต่ก็ไม่ต่างอะไรกับเพจที่รับสอนทั่วไป แต่เลวร้ายไปกว่านั้นมีการชักชวนเข้ากลุ่ม แล้วใช้วิธี Forex หวยชุด

วิธีการเป็นอย่างไร
1. มักให้ท่านกดไลค์กดแชร์
2. ชวนท่านเข้ากลุ่มไลน์หรือ อื่นๆ
3. สอนเทรดโดยกลยุทธ์ที่ต่างกันไปแบบง่ายๆ (เข้าข่ายหวยชุด) ยิ่งเป็น signal ยิ่งใช้เลย
4. หลายคนว่ามันเป็นวิธีหวยชุดอย่างไร ง่ายๆ ครับ เช่น เทพเขาชวนคนได้ 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้ยาผีบอกไปชุดหนึ่ง อีกกลุ่มหนึ่งให้ตรงข้าม เห็นภาพมากขึ้นยังครับ

ระวังตัวให้ดีนะครับ และพึ่งระลึกเสมอนะครับว่าไม่มีใครให้ของฟรีโดยไม่หวังกำลัง แต่สำหรับเพจผมคือให้โดยไม่มีข้อแม้ ให้โดยบริสุทธิใจ และให้ในเชิงวิชาการครับ


+++++++++++
!!!ชี้แจงก่อนนะครับ!!! 🙌
*ผมไม่ได้มาขายของ (EA หรืออะไรทั้งสิ้น)*
*ผมไม่ได้หวัง IB บอกเลยไม่หวังการค้า*
*ผมไม่ได้สร้างลัทธิ หรือระดมอะไรทั้งนั้น*
👌
FB : Investor issara
นามว่า : ความสุขของอิสระ
☕️ อยากเลี้ยงกาแฟ 
เมลหาได้นะครับ
isara_i1329@hotmail.com 
หรือ issarakullawut@gmail.com
#ความสุขของอิสระ��� ���
#ขอให้แนวคิดดีๆเป็นผลทำให้ทุกท่าน
#ประสบผลสำเร็จในการเทรด��� ���
#ขอให้ผลบุญในการถ่ายทอดความรู้ครั้งนี้เป็นพลัง
#ในการที่ผมจะพบกับเส้นทางที่สว่างเสมอ��

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ของคู่เงิน

เมื่อท่านเข้าสู่ตลาด Forex แล้วท่านจะเห็นว่ามีสินค้าให้ทำการ ฺBuy หรือ Sell เป็นจำนวนมาก วันนี้ผมนำเสนอการใช้ข้อมูลเมื่อการตัดสินใจ และแสดงทิศทางความสัมพันธ์กันของคู่สกุลเงินต่าง ๆ ซึ่งก็ไม่ใช้วิธีที่แปลกใหม่อะไรแต่เป็นวิธีที่ เทพผู้สอนที่เก็บเงินแสนแพงอุ๊บเอาไว้ แล้วเครมว่าเป็นวิธีขั้นสูง เริ่มกันเลยนะครับ ก่อนอื่นเลยท่านสามารถดูข้อมูลความสัมพันธ์ของคู่เงินจาก search engine ทั่วไปได้เลย แค่พิมพ์คำว่า correlation forex ก็จะพบเว็บไซต์ที่รวบรวมความสัมพันธ์ของคู่เงินแบบ real time วิธีแปลผลข้อมูลที่ค้นหาได้ดังนี้ จากภาพด้านล่าง
       ตัวอย่างที่ 1 จะเห็นสี่เหลี่ยมสีเขียวของคู่เงิน AUD/USA กับ EUR/USD มีความสัมพันธ์ทางบวกสูงมาก สูงถึง 92.4 % หมายความว่าหากท่านเลือกเทรดสินค้าสองตัวนี้ท่านต้องเทรดในทิศทางเดียวกัน พูดง่ายๆ คือ คู่เงิน AUD/USA ถ้าท่าน Sell คู่ EUR/USD ท่านก็ต้อง Sell ด้วยเช่นกัน 
      ตัวอย่างที่ 2 สี่เหลี่ยมสีดำของคู่เงิน CHF/JPY กับ AUD/CAD มีความสัมพันธ์ทางลบ ประมาณ -77.6 % หมายความว่า หากท่านเทรด CHF/JPY เปิด order Sell คู่ AUD/CAD ท่านต้องเปิด order ฺBuy
ท่านสามารถเปรียบเทียบคู่เงินสกุลต่างๆได้โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับตัวอย่างทั้งสอง ซึ่งให้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่ทำการเข้าซื้อหรือขาย ในตัวสินค้าหลายคู่เงิน.........ขอบคุณครับ


+++++++++++
!!!ชี้แจงก่อนนะครับ!!! 🙌
*ผมไม่ได้มาขายของ (EA หรืออะไรทั้งสิ้น)*
*ผมไม่ได้หวัง IB บอกเลยไม่หวังการค้า*
*ผมไม่ได้สร้างลัทธิ หรือระดมอะไรทั้งนั้น*
👌
FB : Investor issara
นามว่า : ความสุขของอิสระ
☕️ อยากเลี้ยงกาแฟ 
เมลหาได้นะครับ
isara_i1329@hotmail.com 
หรือ issarakullawut@gmail.com
#ความสุขของอิสระ��� ���
#ขอให้แนวคิดดีๆเป็นผลทำให้ทุกท่าน
#ประสบผลสำเร็จในการเทรด��� ���
#ขอให้ผลบุญในการถ่ายทอดความรู้ครั้งนี้เป็นพลัง
#ในการที่ผมจะพบกับเส้นทางที่สว่างเสมอ��

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

แค่มีสมมติฐานล่วงหน้า win อาจเป็นของเรา

การเทรด Forex หากเราใช้หลักการที่ให้เหตุผลว่าอยู่เหนือการพนันคงเป็นการเลี่ยงคำที่ว่าไม่พยากรณ์ราคา ควบคุมความเสี่ยงด้วยการกำหนดจุดขาดทุน (SL) และจุดกำไร (TP) การใช้สมมติฐานเข้าช่วยเป็นอีกวิธีการหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้ตัวอย่างคู่เงิน E/A ผมดูจากพฤติกรรมราคา เพราะก็ตั้งสมมติฐาน เมื่อราคาวิ่งไปถึงเส้นสีแดง 2 เส้นที่ผมตั้งไว้ผมจะ Sell ซึ่งผมไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะถูกต้องหรือผิดทาง ผมก็ควบคุมความเสี่ยงไว้ที่ 1 ต่อ 3 คือเสีย 10 USD แต่ได้ 30 USD แต่หากพิจารณาอย่างรอบครอบแล้วจะเห็นได้ว่า FOREX และการพนัน มันแยกออกจากการยากมาก


+++++++++++
!!!ชี้แจงก่อนนะครับ!!! 🙌
*ผมไม่ได้มาขายของ (EA หรืออะไรทั้งสิ้น)*
*ผมไม่ได้หวัง IB บอกเลยไม่หวังการค้า*
*ผมไม่ได้สร้างลัทธิ หรือระดมอะไรทั้งนั้น*
👌
FB : Investor issara
นามว่า : ความสุขของอิสระ
☕️ อยากเลี้ยงกาแฟ 
เมลหาได้นะครับ
isara_i1329@hotmail.com 
หรือ issarakullawut@gmail.com
#ความสุขของอิสระ��� ���
#ขอให้แนวคิดดีๆเป็นผลทำให้ทุกท่าน
#ประสบผลสำเร็จในการเทรด��� ���
#ขอให้ผลบุญในการถ่ายทอดความรู้ครั้งนี้เป็นพลัง
#ในการที่ผมจะพบกับเส้นทางที่สว่างเสมอ��

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การตั้งจุดขาดทุน Stop loss (สำหรับผมนะ)

ตอบคำถามจาก inbox นะครับว่า

คำถาม  : ตั้ง Stop loss อย่างไร
ตอบ      : ต้องเรียนก่อนว่าไม่มีถูกไม่มีผิดนะครับแต่สำหรับผมการตั้ง Stop loss จะเป็นประเภท fix ที่ประมาณ 5-10 USD (กรณี lot 0.01)

คำถาม   : เล่นใน Time frame ที่ใหญ่ขึ้นทำให้ Stop loss ลดลงไหม
ตอบ       : ไม่เสมอไปครับ แต่ส่วนมากหากตั้งแบบ Price action ความเสียหายก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน

สำหรับผมนั้นผมจะคำนวณ Pips value เพื่อกำหนด Stop loss เพราะในรูปแบบ Stop loss ของผมนั้นจะไม่ใช่แบบแนวรับแนวต้านตาม Price action เพราะ แนวรับและแนวต้านเป็นจุดที่คนส่วนใหญ่รู้ เมื่อรู้ผมถือว่าเป็นจุดเสี่ยงครับผม

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โชว์พอร์ตผ่าน myfxbook เชื่อถือได้จริงหรือ ?

การทำประวัติการเทรดผ่าน myfxbook ถือเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถดูสารสนเทศได้อย่างหลากหลาย แต่ปัจจุบันเทพที่เปิดคอร์สสอนต่างๆ ที่ชอบอวดอ้างสรรพคุณผ่าน myfxbook ได้ใช้สารสนเทศดังกล่าวเพื่อหากิน ใช้เพื่อลวงหลอกหรือใช้เพื่อเป็นการตลาด สร้างความน่าเชื่อถือเพื่อให้ผู้ที่สนใจคล้อยตาม หากเป็นพอร์ตจริงก็ไม่ใช้เป็นการหลอกลวงอันใด สำหรับผู้สนใจจะศึกษาจ่ายค่าเรียน ควรขอ investor password จากเทพผู้สอนเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับ myfxbook ที่โฆษณา รวมไปถึงผู้ที่จ่ายเงินเรียนจนคอร์สแสนแพงไปแล้วก็เป็นสิทธิ์ของท่านที่สามารถขอดูได้เช่นกัน เพราะมันไม่สามารถตัดต่อได้ ผู้เขียนจริงอยากให้ท่านผู้ที่กำลังเข้าสู่ตลาด ผู้ที่สนใจเล่าเรียนตระหนักในเรื่อง investor password อย่างมากเพราะมันคืนความเป็นจริงที่จะบอกว่าเทพตนนั้น ของจริงหรือของปลอม สุดท้ายนี้ผมเห็นว่า investor password ไม่น่าจะเป็นความลับแต่อย่างใด หากเทพองค์นั้นตั้งใจทำมาหากินกับการสอนเทรด ดีไม่ดีจะสร้างความน่าเชื่อถือให้ท่านมากกว่าที่จะปิดเป็นความลับ หรือเพราะกลัวความจริงที่ปรากฏในพอร์ต...............กันนะเทพๆ ทั้งหลาย ........ใจกลัาหน่อยครับท่านทวยเทพ


+++++++++++
!!!ชี้แจงก่อนนะครับ!!! 🙌
*ผมไม่ได้มาขายของ (EA หรืออะไรทั้งสิ้น)*
*ผมไม่ได้หวัง IB บอกเลยไม่หวังการค้า*
*ผมไม่ได้สร้างลัทธิ หรือระดมอะไรทั้งนั้น*
👌
FB : Investor issara
นามว่า : ความสุขของอิสระ
☕️ อยากเลี้ยงกาแฟ 
เมลหาได้นะครับ
isara_i1329@hotmail.com 
หรือ issarakullawut@gmail.com
#ความสุขของอิสระ��� ���
#ขอให้แนวคิดดีๆเป็นผลทำให้ทุกท่าน
#ประสบผลสำเร็จในการเทรด��� ���
#ขอให้ผลบุญในการถ่ายทอดความรู้ครั้งนี้เป็นพลัง
#ในการที่ผมจะพบกับเส้นทางที่สว่างเสมอ��

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

คุณเลือกเอง

Forex ทำกำไรให้คนอาจารย์ผู้สอนอย่างมาก ขนาดอาจารย์ No name ที่โปรโมตตนผ่านสื่อออนไลน์
ต่าง ๆ จะมีศิษย์(เหยื่อ) เข้าไปเรียนเสียเงินมากมาย สิ่งที่ผมพยายามจะสื่อไปคือโลกออนไลน์นั้นมี
การให้ความรู้เกี่ยวกับตลาด Forex อย่างมากมาย ไม่จำเป็นต้องเสียเงินทอง การสร้างความรู้ในตลาดด้วยตนเองก็ไม่ต่างอะไรกับการสะสมองค์ความรู้ที่ยั่งยืนให้ตนเอง แต่คนเราโดยส่วนมากมักติดอยู่กับคำว่าทางลัด ที่ยอมจ่าย ยอมเสีย แต่ไม่เคยตรวจสอบองค์เทพอาจารย์ที่สอนท่านเลย คำถามที่อยากให้คิดตามคือ องค์เทพอาจาย์เหล่านั้น เขาเป็นใครทำไมถึงยอมเสียเงินหลักพัน หมื่น แสน เข้าไปเรียน หรือแค่ถ่ายภาพการคุยกันผ่าน Line, Facebook (อาจารย์ครับผมได้ทุนค่าเรียนคืนแล้ว, เรียนเป็นกันเองมากเลย) ถ้าคุณเชื่อเพียงเท่านั้น ผมได้แค่ให้คำแนะนำได้ว่า ท่านไม่สมควรเข้าตลาดในประเภทนี้นะครับ แต่สุดท้ายมันก็อยู่กับการตัดสินใจของคุณเอง













+++++++++++
!!!ชี้แจงก่อนนะครับ!!! 🙌
*ผมไม่ได้มาขายของ (EA หรืออะไรทั้งสิ้น)*
*ผมไม่ได้หวัง IB บอกเลยไม่หวังการค้า*
*ผมไม่ได้สร้างลัทธิ หรือระดมอะไรทั้งนั้น*
👌
FB : Investor issara
นามว่า : ความสุขของอิสระ
☕️ อยากเลี้ยงกาแฟ 
เมลหาได้นะครับ
isara_i1329@hotmail.com 
หรือ issarakullawut@gmail.com
#ความสุขของอิสระ��� ���
#ขอให้แนวคิดดีๆเป็นผลทำให้ทุกท่าน
#ประสบผลสำเร็จในการเทรด��� ���
#ขอให้ผลบุญในการถ่ายทอดความรู้ครั้งนี้เป็นพลัง
#ในการที่ผมจะพบกับเส้นทางที่สว่างเสมอ��

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

SSRN


SSRN หรือ Social Science Research Network เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผมใช้ในการหาบทความ (Paper) ที่ผมสนใจมาอ่าน ต้องกล่าวก่อนนะครับว่า Paper โดยส่วนมากจะเป็นสิ่งที่ประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานจากหนังสือ Book ซึ่งหนังสือจะเป็นแหล่งสารสนเทศที่รวมเอาความรู้พื้นฐานกระบวนการหรือหลักการต่าง ๆ ไว้ ส่วน Paper นั้นจะเขียนเชิงของการวิจัย ทำให้เราทราบถึงสิ่งที่เราต้องการศึกษาว่ามีแนวโน้มไปทิศทางใด ถือว่าเป็นทางลัดในการได้คำตอบไม่ต้องลงมือปฏิบัติเอง หรือใช้เป็นแบบในการปฏิบัติตาม (เปรียบเสมือนการเดินทางขึ้นภูเขาตามแผนที่) การค้นหาบทความนั้นสามารถเข้าสืบค้นได้เลยไม่ต้องสมัครสมาชิกก่อน โหลดในลักษณะของ FULL TEXT ได้เลยครับ
            เหตุผลที่ต้องอ่าน TEXT เพราะถือว่าเป็นความรู้มหาศาลที่เราต้องศึกษาเพื่อดูความเป็นไป หรือเพื่อดูรากเหง้าของที่มาของแหล่งความรู้โดยความรู้ที่ได้จากตำราหรือหนังสือไทยอาจมีสิ่งที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นเราในฐานะผู้วิจัย นักวิจัย นักศึกษา จำเป็นอย่างมากที่ต้องค้นคว้าและศึกษา และทุกวันนี้ถือว่าเป็นโลกของการเปิดกว้างอย่างมาก มีการแชร์ประสบการณ์ในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นในลักษณะของเทคนิค สำหรับวันนี้ผมขอให้ท่านผู้อ่านทุกคนใช้ฐานข้อมูลที่ผมนำเสนอเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้นะครับ โดยด้านล่างคือตัวอย่างการเข้าหน้าหลักของฐานข้อมูล SSRN
http://www.ssrn.com/en/ 



ความสุขของอิสระ
15 มิถุนายน 2556
เขียนที่ห้องแห่งความลับ

มหาวิทยาลัยบูรพา

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การทดสอบการแจกแจงโค้งปกติกรณี Univariate

            การแจกแจงแบบโค้งปกติถือเป็นเงื่อนไขสำคัญ หรือเป็นข้อตกลงเบื้องต้นที่สำคัญของสถิติหลายตัว การตรวจสอบการแจงแจงแบบโค้งปกตินั้นสามารถทำได้หลายวิธี โดยในครั้งนี้ผู้เขียนได้จำแนกการทดสอบเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มที่ใช้สถิติช่วยในการทดสอบ  2. กลุ่มที่นักวิจัยต้องใช้วิจารณญาณในการตรวจสอบเอง มีรายละเอียดดังนี้
            1. กลุ่มที่ใช้สถิติช่วยในการทดสอบ
            1.1 ใช้สถิติ Kolmogorov-Smirnov และสถิติ Shapiro-Wilk (ใช้ในกรณี N < 50ในกลุ่มนี้สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการช่วยทดสอบ SPSS โดยเป็นการตรวจสอบสมมติฐานเช่นกัน            
                                                H0 = ตัวแปรดังกล่าวมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ
                                                H1= ตัวแปรดังกล่าวไม่มีการแจกแจงแบบโค้งปกติ
            ดังนั้นเราจึงคาดหวังว่าเมื่อทดสอบด้วย Kolmogorov-Smirnov และสถิติ Shapiro-Wilk (ใช้ในกรณี N < 50) แล้ว ต้องไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ หรือยังคงเชื่อในสมมติฐานศูนย์ต่อไป

ตัวอย่างการคำนวณ
            1. เตรียมไฟล์สำหรับทดสอบในครั้งนี้ผู้เขียนใช้ไฟล์ที่ได้มาจากคะแนนทดสอบนักเรียนจำนวน 30 คน
            2. เปิดโปรแกรม SPSS นำไฟล์ข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม SPSS
            3. จาก menu bar ของโปรแกรม คลิกที่ Analyze ไปที่ Descriptive Statistics ไปที่ Explore
         
            4. นำตัวแปรชื่อ test เข้าไปในช่อง Dependent List


            5. คลิก Statistics ที่มุมขวา จากนั้นคลิก Descriptive กำหนดความเชื่อมั่นที่ 95 % คลิก Continue


            6. คลิก Plots ที่มุมขวา จากนั้นคลิก None ในช่อง Boxplots คลิกให้เครื่องหมายถูกลงในช่อง Normality plots with test คลิก Continue



          
             7. หน้าต่างจะแสดงผล Explore แล้วทำการคลิก OK โปรแกรมจะแสดงผลออกมาได้ดังนี้


        ผลที่ได้สังเกตช่อง Sig ของทั้งสองสถิติ Kolmogorov-Smirnov และสถิติ Shapiro-Wilk พบว่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Sig > 0.05 ที่ตั้งไว้) ทำการสรุปได้ว่า ตัวแปรดังกล่าวมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ

                     1.2 ใช้สถิติ Z ในการตรวจสอบ โดยใช้ค่า Z ของความเบ้และความโด่ง โดยเกณฑ์ในการตัดสิน หากนักวิจัยตั้งระดับความเชื่อมั่นไว้ที่ 99 % ช่วงที่เป็นขอบเขตพื้นที่ของการยังคงเชื่อสมมติฐานศูนย์จะอยู่ระหว่าง
-2.58 ถึง + 2.58 และหากตั้ง ระดับความเชื่อมั่นไว้ที่ 95 % ช่วงที่เป็นขอบเขตพื้นที่ของการยังคงเชื่อสมมติฐานศูนย์จะอยู่ระหว่าง -1.96 ถึง + 1.96 
สูตรที่ใช้คำนวณคือ          Z=ค่าความเบ้/รากที่สองของ s.e ความเบ้
Z=ค่าความโด่ง/รากที่สองของ s.e ความโด่ง
โดยเป็นการตรวจสอบสมมติฐานเช่นกัน    
H0 = ตัวแปรดังกล่าวมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ (ค่าที่คำนวณจากสูตรอยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้)
                            H1= ตัวแปรดังกล่าวไม่มีการแจกแจงแบบโค้งปกติ

ดังนั้นเราจึงคาดหวังว่าเมื่อทดสอบด้วย Z ต้องไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ หรือยังคงเชื่อในสมมติฐานศูนย์ต่อไป จากการแทนค่าลงไปในสูตรเพื่อคำนวณหา Z คำนวณพบว่า ค่า Z ความเบ้และความโด่งเท่ากับ -1.28 และ 0.84 ถือว่าอยู่ในช่วง -1.96 ถึง + 1.96 จึงสรุปได้ว่า ตัวแปร Test มีการแจกแจงแบบโค้งปกติ
2. กลุ่มที่นักวิจัยต้องใช้วิจารณญาณในการตรวจสอบ
ด้วยการที่ต้องใช้แผนภาพในการตัดสินใจโดยมีเกณฑ์เพียงน้อยนิดแต่ก็มีความคลาดเคลื่อนได้สูงดังนั้นจำเป็นอย่างมากหากนักวิจัยใช้วิธีการนี้ตรวจสอบผู้เขียนแนะนำให้ใช้การตรวจสอบ ทั้งสองวิธีคือ กลุ่มสถิติและใช้แผนภาพเพื่อให้การตรวจสอบมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น โดยนิยมใช้การแผนภาพจากผลลัพธ์ของโปรแกรมมาตรวจสอบ คือ Normal Q-Q Plot จะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างค่าที่เก็บได้จริงกับค่าที่คลาดหวัง เกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบคือจุดต้องอยู่ใกล้กับเส้นตรง จากภาพสรุปได้ว่า ตัวแปร Test มีการแจกแจงแบบโค้งปกติเพราะสังเกตจากจุดที่เกิดขึ้นจะอยู่ใกล้กับเส้นตรง


Detrended Normal Q-Q Plot เป็นการตรวจสอบความแปรปรวนของตัวแปร เกณฑ์ที่ใช้จุดที่ปรากฏต้องมีการจับกลุ่มรวมตัวกัน จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่ได้มาหากใช้วิธีการนี้ตรวจสอบจะจำแนกได้ยากมาก
ดังนั้นการตรวจสอบการแจกแจงแบบโค้งปกติข้อตัวแปรที่ต้องการศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นในการใช้สถิติต่าง ๆ จำเป็นอย่างมากที่ต้องใช้การตรวจสอบที่หลากหลายเพราะจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการใช้สถิติในการหาคำตอบต่อไป 
ความสุขของอิสระ
เขียนที่ร้านกาแฟบนถนนข้าวหลาม

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

มันคืออำนาจจำแนกของแบบสอบถามจริงหรือ


            คำถามว่าทำไม เป็นคำถามที่ดีสำหรับคนที่ต้องการค้นหาคำตอบ เพราะคำว่าทำไมทำให้เกิดการหาคำตอบของคำว่าทำไม และแล้ววันหนึ่งคำว่าทำไมของผมก็เขามาเกี่ยวกับกับการหาอำนาจจำแนกของแบบสอบถามในโปรแกรม SPSS ซึ่งดูแล้วมันขัดแย้งกันในเชิงนิยาม
            เราต้องมาดูความหมายของอำนาจจำแนก หมายถึง ความสามารถของข้อคำถามที่สามารถจำแนกออกได้ตามสิ่งที่เราต้องการ เช่น แบบสอบถามเจตคติเกี่ยวกับการเรียน อำนาจจำแนกในกรณีนี้จะหมายถึง ข้อคำถามที่สามารถจำแนกคนออกเป็น 2 กลุ่มคือ คนที่มีเจตคติเกี่ยวกับการเรียน และคนที่ไม่มีเจตคติเกี่ยวกับการเรียน จากได้ศึกษาวิธีการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ ในครั้งนี้เจาะจงแค่แบบสอบถามที่ให้ตอบเป็นแบบ Rating scale โดยจะเริ่มจากการนิยามศัพท์เฉพาะ สร้างข้อคำถามให้ครอบคลุมกับนิยามศัพท์ จากนั้นผ่านกระบวนการหาคุณภาพเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ หาอำนาจจำแนกรายข้อ รวมถึงหาคุณภาพทั้งฉบับ ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาวิธีการหาคุณภาพเครื่องมือของต่างประเทศผ่านการใช้โปรแกรม SPSS จึงได้พบกับความจริงบางอย่างที่ในไทยยังเข้าใจคลาดเคลื่อน




         ในเมืองไทยจะพบว่าการหาอำนาจจำแนกผ่านโปรแกรม SPSS จะดูค่าที่ช่อง Corrected Item-Total Correlation แล้วกำหนดค่า 0.2 ถึง 1.00 เป็นค่าที่บ่งชี้ว่าข้อดังกล่าวที่มีอำนาจจำแนก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอย่างมากเพราะช่อง Corrected Item-Total Correlation ถือได้ว่าเป็น Correlation จากการคำนวณ จำเป็นอย่างยิ่งต้องเปิดตารางเพื่อหาค่าวิกฤตไว้เปรียบเทียบ ซึ่งค่าไหนที่มากกว่าค่าวิกฤตถือว่าเป็นข้อที่มีอำนาจจำแนก แต่ก็มีนักวิจัยส่วนใหญ่ที่ยังถ่ายทอดและทำผิดโดยยึดเกณฑ์ 0.2 ถึง 1.00 (เป็นเกณฑ์ของระบบคำตอบที่เป็น Dichotomous ตอบผิดกำหนดให้เป็น 0 ตอบถูกกำหนดให้เป็น 1) 
         จากความเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องของการใช้เกณฑ์อำนาจจำแนกผิดประเภทแล้ว คำถามต่อมาคือ ช่อง Corrected Item-Total Correlation คือ ช่องที่ระบุอำนาจจำแนกจริงหรือ



          ซึ่งเมื่อตรวจสอบและการคำนวณแล้วค่าจากช่อง Corrected Item-Total Correlation  ไม่ตรงกับความหมายของอำนาจแจกแนก ซึ่งความหมายที่แท้จริงแล้วคือ จากที่ยกตัวอย่างแล้วมีข้อคำถามทั้งสิ้น 65 ข้อ ค่า Corrected Item-Total Correlation ข้อที่ b1 = .725 หมายถึง สหสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลของข้อที่ b1 กับ ผลรวมข้อข้อที่ b2 ถึง b65 หรือ  สหสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลของข้อที่ b1 กับ ค่าเฉลี่ยของข้อที่ b2 ถึง b65

  
              ซึ่งจะหมายถึงความสัมพันธ์ของ ข้อ b1 สัมพันธ์กับ ข้อที่เหลือเท่าไร ซึ่งขัดแย้งกับความหมายของอำนาจจำแนก หรืออาจจะกล่าวไว้ช่อง ช่อง Corrected Item-Total Correlation เป็นการหาความสอดคล้องของข้อคำถามรายข้อกับภาพรวมกับข้อคำถามที่เหลือ
              หากปรับเปลียนและทำความเข้าใจที่ถูกต้องยอมรับฟังด้วยเหตุและผลจะทำให้ระเบียบวิธีการวิจัย การสร้างเครื่องมือการหาคุณภาพของเครื่องมือมีความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

ความสุขของอิสระ
27 เมษายน 2559
เขียนที่คอนโดหรูใกล้หาดบางแสน

วัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ สูตรยาผีบอก

      นโยบายเปลี่ยน การปฏิบัติก็เปลี่ยน การทำวิจัยในครูก็ยิ่งลดลง เนื่องด้วยการประเมินวิทยฐานะแบบใหม่หรือเรียกกันติดปากว่า ว.21 วันนี้จะมาพ...